การสร้างสรรค์นาฎยศิลป์จากความศรัทธาเทพฮินดู ชุด ตรีมูรติ

The Creation of Dance from the Faith in Hindu Deity: Trimurti

ผู้แต่ง

  • อภิโชติ เกตุแก้ว คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • นรีรัตน์ พินิจธนสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ตรีมูรติ , นาฏศิลป์สร้างสรรค์ , ปราณยามะ

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ ชุด ตรีมูรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และศึกษาหารูปแบบตามองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บทการแสดง 2. นักแสดง 3. ลีลาท่าทางนาฏศิลป์ 4. เสียงและดนตรี 5. เครื่องแต่งกาย 6. แสง ซึ่งมีกระบวนการวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ เทวนิยมอินเดีย ปราณยามะ (Pranayama)  และสุนทรีย์ทางนาฏศิลป์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ตลอดจนข้อมูลจาก
สื่อสารสนเทศอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลตามวัตถุประสงค์

ผลงานสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ของความคิดความศรัทธาในเทวนิยมอินเดียที่ปรากฏในสังคมไทย และนำการควบคุมลมหายใจที่ เรียกว่า ปราณยามะ (Pranayama)  มาใช้ในการแสดงเพื่อผู้แสดงสามารถควบคุมตนเองเข้าสู่ภาวะสงบของจิตใจเกิดภาวะผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย และแสดงท่าทางอันแสดงออกถึงพลังของเทพเจ้าตามคติความเชื่อได้อย่างงดงามสมบูรณ์ ซึ่งผลงานสร้างสรรค์ในครั้งนี้สามารถนำเอาความรู้จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ไปพัฒนาต่อยอดในการออกแบบผลงานทางด้านนาฏยศิลป์และศิลปะการแสดงอื่น ๆ ต่อไปได้ในอนาคต

References

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2565, 18-24 กุมภาพันธ์). ผี-พราหมณ์-พุทธ. มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, https://www.matichonweekly.com/column/article_52541

โครงการเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการและมหกรรมศิลปะดนตรีและการแสดง ครั้งที่ 10. (2565). https://m.facebook.com/swufofa/videos/โครงการเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ-และมหกรรมศิลปะ-ดนตรี-และการแสดง.

จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัทนี รัตนิน. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับการแสดงละคอนเวที. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงใจ อมาตยกุล. (2545). การขับร้องประสานเสียง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรีรัตน์ พินิจธนสาร. (2563). รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จาการตีความ "ราม" ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางการแสดงทั้ง 8 ประการ. ศิลปกรรมสาร. 13(1), 17-34.

พระครูปลัดบุญทัน ธีรงฺกุโร (จําปาทอง). (2558). ศึกษาเปรียบเทียบตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กับตรีกายในพุทธศาสนามหายาน [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระตรีมูรติ. (2565). https://www.horonumber.com.

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2551). ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู. เมืองโบราณ.

อภิโชติ เกตุแก้ว. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอมในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนทรินทรวิโรฒ, 21(2). 94-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์