แห่ช้างผ้า: แนวคิดจากภูมิทัศน์วัฒนธรรมผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ในบริบทใหม่
Chang Pha: Concepts from Cultural Landscapes through Creative Processes in New Contexts
คำสำคัญ:
แห่ช้างผ้า, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, บริบทใหม่บทคัดย่อ
บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่ออภิปรายวิธีการและแนวคิดของผลงานสร้างสรรค์ “Charming Chang Pha (สืบ สาน แห่ช้างผ้า)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: การออกแบบเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนจากแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเมาะหลวง จังหวัดลำปาง” จากการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งทางด้านเอกสารและการลงพื้นชุมชนบ้านเมาะหลวง จังหวัดลำปาง พบว่ามีประเพณีสำคัญของชุมชนบ้านเมาะหลวงที่จัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ประเพณีผูกเล่าจากตำนานภูมิศาสตร์พื้นที่ของชาติพันธุ์ไทใหญ่เกิดขึ้นในช่วงสมัยที่ทำการค้าไม้กับต่างชาติ การระลึกถึงบุญคุณของสัตว์ที่เป็นแรงงานสำคัญของการหาเลี้ยงชีพ จึงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในชุมชน การส่งต่อของศรัทธาความเชื่อ วิถีปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาวเมาะหลวง อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมในพื้นที่ ทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต ความภูมิใจของชาวเมาะหลวงอีกด้วย การถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัสดุพื้นถิ่นสู่สัญญะรูปทรงของช้างเป็นตัวแทนของความศรัทธา ความร่วมมือร่วมใจ ศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนบ้านเมาะหลวง ในรูปแบบผลงานสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนเสน่ห์ของชุมชนบ้านเมาะหลวง ชื่อผลงาน “Charming Chang Pha (สืบ สาน แห่ช้างผ้า)” ประติมากรรม 3 มิติจากไม้ไผ่ โดยใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นตัวถ่ายทอด ซึ่งได้ติดตั้งจัดแสดงในนิทรรศการ “หลงเสน่ห์” ณ หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา เพื่อนำไปสู่การสรุปผลว่าตรงตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานมากน้อยเพียงใด ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interaction) การรับรู้และมีส่วนร่วมกับผู้ชมนอกพื้นที่ในบริบทใหม่ จึงได้มีการเก็บแบบสอบถามเพื่อเป็นการประเมินจากผู้ชมต่อผลงานชิ้นนี้ด้วย ปรากฏข้อมูลดังนี้ ด้านผู้ชมนิทรรศการที่ไม่เคยรู้จักประเพณีแห่ช้างผ้ามาก่อนร้อยละ 92.1 เห็นว่าผลงานมีการแสดงออกได้ตรงตามแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ร้อยละ 59.5 และคิดว่าผลงานมีความน่าสนใจร้อยละ 60.5 จากผู้เข้าชมและมีส่วนร่วมในงานและตอบแบบสอบถาม
References
เอกสารอ้างอิง
กานดา คำลือสาย. (2554). แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการแห่ช้างผ้า กรณีศึกษา บ้านเมาะหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่เมาะ จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. สำนักพิมพ์อุษาคเนย์.
คาเรน ที. ลิตฟิน. (2563). Ecovillages: Lessons for Sustainable Community [ชุมชนนิเวศวิถี บทเรียนเปลี่ยนชีวิตและโลก]. สำนักพิมพ์ อินี่บุ๊คส์.
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2561). นิเวศวิทยามนุษย์: การศึกษาสิ่งแวดล้อมในมิติของสังคมและวัฒนธรรม. ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พินัย วิลัยทอง. (2557). การศึกษาประเพณีแห่ช้างผ้า ชุมชนเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รวงทอง รักษ์สกุล. (ม.ป.ป.). ตำนานช้างผ้าบ้านเมาะหลวง. หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (นาฏศิลป์).
ลิขิต เครือบุญมา. (2562). ประเพณีแห่ช้างผ้าและหอผ้า เมืองเมาะ นครลำปาง. https://www.facebook.com/muangmohlampang
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2551). คู่มือฉุกคิด ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม. http://lek-prapai.org/watch.php?id=84.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. (2538).ตำนานพื้นเมืองเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
สมคิด วงค์ษา. (ม.ป.ป.). บ้านเมาะหลวง [หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย].
สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปะวิจัย สร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะ. จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
อนุวัฒน์ การถัก และทรงยศ วีระทวีมาศ. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิดและทิศทางการศึกษาวิจัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 5.
อารี สุทธิพันธุ์. (2535). ศิลปะนิยม (พิมพ์ครั้งที่ 4). โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
Christiane Paul. (2003). Digital Art(World of Art). Thames & Hudson Inc.