การสร้างสรรค์วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ เรื่อง Me-Memory: การสำรวจความทรงจำและพื้นที่

The Making of Video Performance “Me-Memory”: An Exploration of Memory and Space

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร กิตติก้อง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปนัดดา อิ่มสะอาด คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์, การแสดง, ความทรงจำ, พื้นที่, กระบวนการสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

Me-Memory เป็นผลงานศิลปะการแสดงนิพนธ์ในระดับปริญญาตรีในรูปแบบวิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ (Video Performance)  ที่เกิดจากการตั้งคำถามต่อตนเองเพื่อค้นหาและสำรวจตัวตนผ่านความทรงจำ ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ที่กลับไปเยี่ยมเยือนความทรงจำในพื้นที่จริงและในพื้นที่ความรู้สึกของตนเอง ผ่านเรื่องราวความทรงจำที่ได้รับการเล่าโดยพ่อ แม่ ยาย และตา มีกรอบแนวคิดในการทำงาน คือ ความทรงจำ (Memory) พื้นที่ (space) การแสดง (Performance) และกลวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายในฐานการภาวนา ประกอบไปด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจและวิเคราะห์เรื่องเล่าความทรงจำของคนในครอบครัว (2) การค้นหาแนวทางการนำเสนอ (3) การแสดงและการถ่ายทำ (4) การตัดต่อภาพเสียง (5) การจัดแสดงผลงาน ผลการดำเนินงานพบว่า Me-Memory สามารถนำเสนอกระบวนการสำรวจความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ผ่านภาพวิดีโอที่บันทึกการแสดงในพื้นที่ เสียงจากเรื่องเล่าความทรงจำของคนในครอบครัว และการตัดต่อภาพ โดยภาพการแสดงที่ปรากฏเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายนั้น เป็นผลผลิตจากกระบวนการสำรวจการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางร่างกายกับพื้นที่และการสำรวจความรู้สึกภายในจิตใจร่วมกับเหตุการณ์ในอดีต การแสดงนำเสนอสภาวะความรู้สึกและความเข้าใจในตนเองในการสำรวจความทรงจำ

References

จุรีพร เพชรกิ่ง. (2564). ความทรงจํากับสถานที่ผ่านสัมผัส. วารสารศิลป์ พีระศรี, 9(1), 106-141.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์. (2559). การจำความสัมพันธ์: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในผู้สูงอายุ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 359-369.

ธนัชพร กิตติก้อง. (2562). การขยายประสบการณ์ภายในของตัวละครด้วยวิธีปฏิบัติภาวนาทางพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา ตัวละคร นาก จาก Land & Skin: The Ballad of Nak Phra Khanong. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(1), 345-392.

ธนัชพร กิตติก้อง. (2563). การแสดง/PERFORMANCE: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรา สุดสาคร, สุดสบาย จุลกทัพพะ, สุวิทย์ เจริญศักดิ์, และเธียรชัย งามทิทย์วัฒนา. (2559). ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้านเหตุการณ์ที่เน้นกระบวนการด้านอารมณ์ในผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(3), 241–252.

ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก. (2563). ลิลิตนิทราชาคริต พื้นที่ เวลา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(4), 99-119.

ศุภชัย อารีรุ่งเรือง. (2555). วิดิโออาร์ต ชุดมารผจญ [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังกูร หงส์คณานุเคราะห์. (2560). ความหมายของพื้นที่ เงื่อนไขของความทรงจำ : ความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำกับการให้ความหมายของพื้นที่ บ้านห้วยกบ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 43(2), 155-168.

Choktapra, Thanwarat. (2565). สรุปหนังสือ “Remember: ศาสตร์แห่งการจำและศิลปะแห่งการลืม”. https://missiontothemoon.co/book-review-remember-lisa-genova/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์