ปฎิบัติการร่วมสร้างในกระบวนการผลิตการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่
คำสำคัญ:
หมอลำ, ลำหมู่ร่วมสมัย, การผลิตละคร, ปฏิบัติการร่วมสร้างบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการอภิปรายการปฏิบัติการร่วมสร้างในกระบวนการผลิตการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ร่วมกับผู้กำกับ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมผลิตโดยแบ่งออกเป็น 4 บทบาท คือ 1. โปรดิวเซอร์ 2. ผู้จัดการงบประมาณและระดมทุน 3. ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง และ 4.ผู้กำกับเวที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติการผลิตละครแบบร่วมสร้าง โดยใช้หลักการผลิตละครเวทีแบบตะวันตก เป็นฐานร่วมกับการแสดงลำหมู่ เพื่อให้เกิดเป็นการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ก่อนร่วมสร้าง : การทบทวนและสำรวจความรู้ 2. กระบวนการร่วมสร้าง 3. หลังปฏิบัติการร่วมสร้าง จากผลการดำเนินงานพบว่า การปฏิบัติการร่วมสร้างการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ร่วมกับผู้กำกับ สะท้อนให้เห็นการทำงานผลิตในมิติที่แตกต่างจากการแสดงหมอลำหรือละครเวทีตามแบบแผน โดยรูปแบบการแสดงหมอลำในครั้งนี้เกิดขึ้นในพื้นที่โรงละครเป็นหลัก การจัดการผลิตการแสดงลำหมู่ในโรงละคร จึงต้องอาศัยกระบวนการจัดการที่คล้ายคลึงกับละครเวทีตามแบบแผน เพื่อให้กระบวนการสร้างและพัฒนาการแสดงเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพนำไปสู่ความคิดหรือวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างการแสดงลำหมู่ต่อไปได้
References
จิตรา วรรณสอน. (2562). รูปแบบการทำตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี.
http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/7416/1.
ชัยภัทร ปิติสุตระกุล. (2558). กระบวนการการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของละครเวทีใน
ประเทศไทย. http://www.gscm.nida.ac.th/publicaction/Proceeding/2558/5-4.pdf
ณปภิช พิชญคามินทร์. (2563). กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาธุรกิจละครเวทีรูปแบบมิวสิคัลใน
ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ณวดี เศรษฐเมธีกุล. (2558). การบริหารจัดการละครเวทีอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการประยุกต์ใช้องค์
ความรู้ทางด้านอีเว้นท์เมเนจเมนท์. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิดหมู มักม่วน. (2565). หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านที่ไม่มีวันตาย. https://www.isangate.com/new/
morlum_never_die.html.
ธานี ภู่นพคุณ. (ม.ป.ป.). หัวใจสำคัญในการจัดการแสดงละคร. https://www.gotoknow.org/posts/
พรรัตน์ ดํารุง. (2557). ละครประยุกต์: การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภัสสร์ศุภางค์ คงบํารุง. (2563). Devised Theatre สร้างสรรค์ละครเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.
รณชาติ บุตรแสนคม. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายละครกรุงเทพ.
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/97670/78144.
ศิริชัย ทัพขวา. (2560). การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลําหมู่เชิงธุรกิจ. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. (2563). หมอลำ.
BBB ACCREDITED BUSINESS. (ม.ป.ป.). Stage Manager Duties: Overview of Stage Manager
Responsibilities. https://study.com/learn/lesson/stage-manager-overview-duties.html.
Bonet, L, & Schargorodsky, H. (2018). Theater Management: models and
strategies for cultural venues. Norway: kunnskapsverket.
Cooper, A. (2020). So What is Devised Theatre Anyway (and Why do I Love it
Gillett, C, and Sheehan, J. (2017). The Production Manager’s Toolkit successful
production management in theater and performing arts. New York; London: Routledge.
Heddon, D. & Milling, J. (2006). Devising Performance: A Critical History. Hampshire:
Palgrave Macmillan.
Judd, C. (2555). So, What Does The Assistant Director Actually Do?.
Leventhall, J. (2014). A BRIEF GUIDE TO STAGE MANAGEMENT.
http://www.chipsteadplayers.org/new/wp-content/uploads/2015/05/SM-GUIDE-V2-
pdf.
Nasusin, S. (2007). Development of Lam Ruang Tor Klon Performance in
KhonKaen Styled, Rabeabwatasin Band, Khon Kaen Province. Mahasarakham University.
Oddey, A. (1994). Devising Theatre: A Practical and Theoretical Handbook.” London:
Routledge.
Volz, J. (2017). Introduction to Arts Management: Introduction to Theatre.” India:
Bloomsbury Publishing Pic.