การสร้างและพัฒนาตัวละครในนวนิยายสู่พื้นที่การแสดงในละครเวทีผสมภาพยนตร์ กรณีศึกษาของตัวละครหลัก “เธอ” ในการการแสดงเรื่อง แพร่ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ รัตนพลธี สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรณิชา คมนาคม สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พชญ อัคพราหมณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ละครเวที, ภาพยนตร์, ดีไวซิ่ง, ความจริง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอกระบวนการสร้าง และพัฒนาตัวละคร “เธอ” ซึ่งเป็นตัวละครหลักใน        การแสดงรูปแบบละครเวทีผสมภาพยนตร์เรื่อง แพร่ง (Intersection) โดยขั้นตอนดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่ 1. การศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครจากนวนิยายต้นฉบับ 2. การสร้างสรรค์และพัฒนาตัวละคร “เธอ”    ผ่านกระบวนการดีไวซิ่ง 3. การนำเสนอตัวละครผ่านการแสดงในพื้นที่ละครเวทีกับพื้นที่ภาพยนตร์                 ผลการดำเนินงานพบว่า การใช้ความจริง (truth) ของตัวละครจากนวนิยายตั้งต้นเป็นแกนในการทดลอง ค้นหา สร้างและพัฒนาตัวละคร ทำให้นักแสดงสามารถเทียบเคียง และเชื่อมต่อประสบการณ์ตนเองเข้ากับตัวละครเดิมแล้วพัฒนาไปสู่การสร้างตัวละครใหม่ เพื่อนำเสนอผ่านพื้นที่การแสดงทั้งในรูปแบบละครเวทีและภาพยนตร์อย่างเป็นธรรมชาติ น่าเชื่อ และสื่อสารประเด็นหลักของเรื่องสู่ผู้ชมได้  

References

จิราวดี บุญปวง ปาริฉัตร จันทัพ และขวัญชนก นัยจรัญ. (2562). “หลงไฟ : การวิเคราะห์ตัวละครโดยใช้ทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ ของ อับรมฮัม มาสโลว์ (Lhong Fai : A Character Analysis using Abraham Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation).” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 7, 1 (ม.ค. - มิ.ย.), 101-122.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2548). “วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์.” ใน อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2552), หน้า 67. อ้างถึงใน หัตถกาญจน์ อารีศิลป, สัจนิยมมหัศจรรย์ในเรื่องสั้น “เงาแห่งฝน” : ใต้ “เงา” แห่งลัทธิอาณานิคมม, วารสารมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 20, 2556.

ตรีดาว อภัยวงศ์. “การแสดง,”. ใน ปริทัศน์ศิลปะการละคร, บรรณาธิการโดย นพมาส แววหงส์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562. พิมพ์ครั้งที่ 5, หน้า 96-114.

สดใส พันธุมโกมล. (2538). ศิลปะของการแสดง(ละครสมัยใหม่). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ