การใช้เทคนิค Slip Nerikomi เพื่อสร้างสรรค์ลายภูมิทัศน์บนเครื่องลายครามของเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น
คำสำคัญ:
วิธีบีบราดด้วยน้ำดินข้น, จิ่งเต๋อเจิ้น, ลายครามภูเขาและแม่น้ำ, ลายครามภูเขาเเละแม่น้ำดินปั้นบิดบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบและเชิงทดลองนี้ ได้สำรวจวิธีการเชิงนวัตกรรมและผลลัพธ์ทางศิลปะของเครื่องลายครามจากเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นที่มีลวดลายภูมิทัศน์ประกอบด้วย ลายภูเขา แม่น้ำ และต้นไม้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคนิคใหม่ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการในการสร้างลวดลายภูมิทัศน์บนเครื่องกระเบื้องลายคราม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเทคนิคใหม่นี้โดยใช้ชื่อว่า Slip Nerikomi (วิธีบีบราดด้วยน้ำดินข้น) เป็นการสร้างลวดลายโดยใช้น้ำดินข้น (Slip) กวนวาดเป็นรูปร่างที่ต้องการ จากนั้นจึงเอียงชิ้นงานให้น้ำดินข้นไหลตามทิศทางที่ต้องการ โดยจะทำร่วมกับการพ่นน้ำบนชิ้นงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมชาติมากขึ้น จากการศึกษาผลงานของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเคลือบที่มีลวดลายภูมิทัศน์ของเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น ได้พบงานลวดลายที่เกิดจากการใช้เทคนิค Nerikomi (ดินปั้นบิด) และแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล จำแนกประเภท และเปรียบเทียบผลงานที่มีลวดลายภูมิทัศน์ดังกล่าวโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อสร้างเทคนิคการวาดลวดลายภูมิทัศน์แบบใหม่ จากการศึกษาพบว่าเทคนิค Slip Nerikomi นี้ สามารถนำมาใช้สร้างลวดลายภูมิทัศน์ได้คล้ายคลึงกับการวาดลวดลายบนเครื่องลายครามโดยตรงแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยได้ผสมเม็ดสีน้ำเงินจากโคบอลต์ออกไซด์ผสมกับน้ำดินข้นเพื่อสร้างน้ำดินข้นสีลายคราม จากนั้นจึงนำวัสดุนี้ไปใช้สร้างผลงาน โดยใช้วิธีการกวนร่วมกับการไหล ผลการทดสอบเชิงสำรวจแสดงให้เห็นว่า น้ำดินข้นที่ใช้เทคนิค Slip Nerikomi ไม่เพียงแต่จะสามารถแสดงลักษณะความเป็นภูมิทัศน์ได้ดีแล้ว ยังสามารถแสดงผลลัพธ์อย่างอื่นได้ด้วย เช่น พื้นที่หนาหรือบาง สว่างหรือมืด จะเห็นได้ว่าเทคนิคใหม่นี้สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์ลายภูมิทัศน์บนเครื่องลายครามได้ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ทางศิลปะ เช่น ความเป็นธรรมชาติ และ ความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงสุนทรียะ และสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับผู้สร้างงานศิลปะลายครามบนเครื่องลายครามจากเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นในอนาคต
References
Duan Suping (2020), “Humanistic Painting Concept and Artistic Aesthetics of Jingdezhen blue-and-white Landscape Painting’, Ceramics Research, p.113.
Dyrssen, C. (2011) Navigating in Heterogeneity. In M. Biggs & H. Karlsson. The
Routledge Companion of Research in the Arts. Routledge. Dyrssen, C. (2011) Navigating in Heterogeneity. In M. Biggs & H. Karlsson.
Feng Xianming (1994), ‘Chinese Ceramicst’, Shanghai Ancient Books Publishing Press, p. 452.
Guest, L. (2019). “Drifters” in Jingdezhen: Past meets present in the porcelain capital. p. 55.
Liang Caiyan (2021). The utility model relates to a method for preparing stranded embryo porcelain by stranded mud process, National Knowledge Bureau,www.xjishu.com/zhuanli/25/CN105272166.html. They were accessed on 26 July 2022.
Loussier, H. J. R. d. l. c. e. d. v. (2019). Le nerikomi hypnotique de Mandy Cheng.
(226), 42-43. Xiaomin, L. J. C. A. i. C. T. o. S. C. (2008). Jingdezhen–Porcelain Capital of the World. p. 67.
Solberg, A. J. F. (2021). Artistic Expression and Material Limitations: An Iterative Process of Porcelain Making. 14(2).
The Routledge Companion of Research in the Arts (pp. 223-239). Routledge. http://clab.iat.sfu.ca/804/uploads/Main/RoutledgeCompanion.pdf.
Yang Jingya (2020). The rhythm of points -- the application of point elements in ceramic decoration, Jingdezhen: the Jingdezhen University of Ceramics, pp. 17–21.
Yang Xia and Chai Zhanzhu (2012). Chinese Nerikomi porcelain, Henan Fine Arts Publishing Press.
Yang Zhiyue (2020). Study on Lu Weisun’s Freehand Brushwork of Celadon Landscape Theme Works, Hang zhou China Academy of Art, pp. 6–15.
Zhu, F., & Shao, J. (2012). Protection and symbolization innovation of manufacturing process of Blue-and-white porcelain. Paper presented at the Applied Mechanics and Materials. p. 430.
Zhang Pusheng (1999), ‘Identification of blue-and-white porcelain’, Beijing Library Press, p. 1.
Zhang Yongjun (2015),‘On the Inheritance and Innovation of blue-and-white Landscapes’, Ceramics Research, p.120.