การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากคาแรคเตอร์ช้างไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ที่ระลึก, อัตลักษณ์ไทย, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้างภาพ, ช้างไทย, Souvenir, Thai identity, AI, Midjourney, Thai elephantบทคัดย่อ
งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากคาแรคเตอร์ช้างไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในกระบวนการออกแบบและสร้างทางเลือกผลิตภัณฑ์ 2) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่ได้แรงบันดาลใจจากช้างไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้วิธีกระบวนการสร้างสรรค์ การศึกษาอัตลักษณ์ของช้างไทย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาทดลองสร้างภาพต้นแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยี AI โดย Midjourney ในการสร้างภาพจากข้อมูล คัดเลือกภาพที่ได้มาทดลองพัฒนารูปแบบ ประเมินโดยผู้บริโภคผ่านทางออนไลน์ นำข้อเสนอแนะมาพัฒนาแบบร่าง เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกในรูปแบบคาแรคเตอร์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ช้างไทย ผลจากการศึกษาพบว่า ช้างไทย มีลักษณะเด่น คือ กะโหลกใหญ่ ใบหูกว้าง ปลายงวงโค้งงอ ช้างถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญในไทยทั้งในทางศาสนา ราชวงศ์ และตราราชการ ในปัจจุบัน ช้างมีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวประเทศไทยโดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในด้านของการศึกษา AI มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพ พบว่า เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างภาพจากข้อมูลที่ให้รูปแบบทางเลือกหลากหลายแปลกใหม่ สร้างสรรค์ ทันสมัย สามารถสร้างภาพได้สมจริง แต่ยังขาดความเฉพาะเจาะจงในบางองค์ประกอบ จึงควรพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่อด้วยมุมมองของนักออกแบบให้ชิ้นงานมีอัตลักษณ์ ตรงกับความต้องการของนักออกแบบและผู้บริโภคมากขึ้น
References
จิรานุกรม รสิกา. (2562). การใช้มาสคอตเพื่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์แก่จังหวัด : กรณีศึกษา Kumamon มาสคอตประจำจังหวัดคุมะโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-65-3/the-knowledge-65-3-3.html
นพดล รัตนแสงหิรัญ และกุลลินี มุทธากลิน. (2562). การศึกษา Be@rbrick ในฐานะของสะสม. ใน การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง บัณฑิตศึกษาระดับชาติ สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์ (น. 294).
มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง. ลักษณะที่แตกต่างกันของช้างเอเชียและช้างแอฟริกา. http://www.elephantsfund.org/elephant-facts/difference-Afican-Asian-elephants.html
วรวิทย์ วศินสรากร. (2548). ช้าง สัญลักษณ์ของประเทศไทย. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เล่มที่ 35, น. 74-75). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน. (2566). ความสำคัญของช้างในประเทศไทย. https://copenhagen.thaiembassy.org/th/content/ความสำคัญของช้างในประเทศไทย?cate=63bec0dd6e2e7150ea0b1603
สวทช.(2565). Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง. https://www.nstda.or.th/home/news_post/10-tech-generative-ai/
สุดาลักษณ์ แก้วเขียว. (2561). กรณีศึกษาการเปรียบเทียบตุ๊กตามาตรอชก้าและตุ๊กตาโคเคชิ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ . (2565). ถอดรหัส ฝ่าวิกฤต โกยรายได้กว่า หลักล้านบาทต่อปี แบบฉบับ จี้ออ. https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_229745
Andruszków, K. (2566). All-In-One Guide For Midjourney: The Art Of Prompts. https://bowwe.com/en/blog/guide-to-midjourney-prompts
BrandThink. (2565). ไม่ใช่แค่ Midjourney แต่ 2022 คือปีของ ‘AI วาดภาพ’. https://www.brandthink.me/content/midjourney
GRAY, J. (2566). Midjourney Flips the Formula with New Image-to-Text Generator. https://petapixel.com/2023/04/05/midjourney-flips-the-formula-with-new-image-to-text-generator/
King, M. (2566). Best Product Design Style Prompts Inspired by Famous Designers — for Midjourney AI Image Generator. https://medium.com/@neonforge/best-product-design-style-prompts-inspired-by-famous-designers-for-midjourney-ai-image-generator-8ab88d2c8cbe
Museum Siam. (2563). ช้างเผือก ต้องมีสีขาวเท่านั้นจริงหรือ. https://www.museumsiam.org/km-detail.php?CID=177&CONID=4246
Sirithorn, W. (2559). ELEPHANT PARADE เดินทางกลับถิ่นกำเนิดสู่เมืองเชียงใหม่แล้ว. https://www.sanook.com/travel/1401701/
Slika.co. (2566). ความล้ำหน้าของเครื่องมือ AI สร้างรูปภาพจากข้อความ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างไร. https://salika.co/2023/07/21/ai-text-to-image-effects-creative-industry/#:~:text=เทคโนโลยี AI text-to-image,ธรรมชาติ (NLP) เพื่อทำความเข้าใจ
The KOMMON. (2566). Generative AI ในโลกการศึกษา เครื่องมือสร้างสรรค์ใหม่ที่ท้าทายผู้เรียนและผู้สอน. https://www.thekommon.co/generative-ai-education/
Wenger, L. C. (2558). A Small Piece of the Past: Relic Hunting and Souvenir Collecting in the 1800s. http://hersheystory.org/a-small-piece-of-the-past-relic-hunting-and-souvenir-collecting-in-the-1800s/
Williams, S. (2561). Elephant: 11 Facts About Thailand's National Animal. https://theculturetrip.com/asia/thailand/articles/elephant-11-facts-about-thailands-national-animal/