การศึกษาศักยภาพตลาดชายแดนไทยเพื่อเป็นตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • Supawadee Boonyachut
  • Chai Sunyavivat
  • Wuntand Parkthin

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.129662

คำสำคัญ:

ตลาดชายแดนไทย, ตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์, ศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์, การพัฒนาเชิงกายภาพ

บทคัดย่อ

        ประเทศไทยมีฐานเศรษฐกิจอิงการท่องเที่ยว โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพของประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ทำให้มีตลาดชายแดนโดยมีชุมชนที่ติดต่อค้าขายกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ แต่จากสถิติในจุดผ่านแดนแต่ละแห่ง ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อย การดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเป็นแนวทางที่ควรศึกษา การวิจัยเน้นการศึกษาศักยภาพชุมชนชายแดน เพื่อสรุปศักยภาพการพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการศึกษาทรัพยากรในชุมชน เพื่อพัฒนาตลาดชายแดนให้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวขยายวงกว้างมากขึ้น จากนั้นมีการเสนอแนะตลาดชายแดนที่มีศักยภาพ แนวทางการพัฒนา และเสนอรูปแบบตัวอย่างการพัฒนาเชิงกายภาพ การรวบรวมข้อมูลนั้น เริ่มจากการกำหนดเกณฑ์ประเมินตลาดในภาพกว้างจากองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ดี (Mill and Morrison, 2012) แล้วจึงกำหนดแนวทางเชิงลึกโดยอ้างอิงลักษณะของเมืองน่าอยู่ 5 แนวทาง ทีมวิจัยได้คัดเลือกตลาดชายแดนที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพียง 4 แห่งจากข้อมูลของตลาดทั้งหมด 19 แห่ง

References

Bangkok Department of City Planning. (2013). The Character of the Livable City. Retrieved September 23 2013 from https://cpd.bangkok.go.th/lrup/cosmos/city_plan1_th.htm.

Creative Tourism Thailand. (2014). About Creative Tourism. Retrieved September 19 2014 from https://www.creative tourism. com/c_main /about.

Junsuebsri, S. (2015). The Meaning of the Vernacular Architecture. The basic of the Vernacular Architecture. Thai Vernacular Architecture Subject Handout.

Kanlayanamitr, C. (1996). Old Thai Style Architecture. Bangkok: Thammasat University Tha Prachan Campus.

M. Nayanapriya Gunawardhana, Sadami Suzuki, and Takao Enkawa. (2015). Effect of Business Model Complexity on Supply Chain Management: A Case Study of Apparel Value Networks. Journal of Economics, Business and Management, Vol. 3, No. 1, January.

Mill, R.C., and Morrison, A. M. (2012). The Tourism System (7th ed). USA: Kendall Hunt Publishing Company.

Nongkhai Technical College. (2014). Socio-Economic Information of Nong Khai Province. Retrieved September 19, 2014 from https://www.nktc.ac.th/images /58/databasic/nongkhai.pdf.

Saraya, T. (2009). Thai Civilization. Bangkok: Muang Boran.

Tippatus, P. (1992). Architecture: Viewing the Pass, Thinking the Future. Bangkok: Meka Press.

Tungsakul, N. (2014). Concepts of Contemporary Architectural Design for Local Identity. Retrieved September 23, 2014, from https://architservice.kku.ac.th/ wp-content/uploads/2016/08/panuph_9-8-2559_15-04-38-5.pdf.

Wongwittayapanich, N. and other. (2011). Research “Development of Thai Border Trading Market: The Case Study of Rong Kluea Market, Srakaew. Public Policy Studies Institute Chaing Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2019

How to Cite

Boonyachut, S., Sunyavivat, C., & Parkthin, W. (2019). การศึกษาศักยภาพตลาดชายแดนไทยเพื่อเป็นตลาดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 117–125. https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.129662