กรรม : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่สะท้อนความเชื่อในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • Ekapon Duangsri

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133199

คำสำคัญ:

กรรม, อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์, อรรถศาสตร์ปริชาน, สื่ออินเทอร์เน็ต, ภาษากับวัฒนธรรมไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถ้อยคำอุปลักษณ์ในภาษาไทยที่สะท้อนมโนทัศน์ของคำว่า “กรรม” และศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับกรรมที่สะท้อนจากถ้อยคำอุปลักษณ์ในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน (Cognitive Semantics) โดยเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์พันทิพดอตคอม และคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) ผลการวิจัยพบว่า ถ้อยคำอุปลักษณ์สะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับกรรมในภาษาไทยทั้งสิ้น 8 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ [กรรม คือ มนุษย์]  [กรรม คือ สิ่งสกปรก]  [กรรม คือ หนี้]  [กรรม คือ โรค]  [กรรม คือ ศัตรู]  [กรรม คือ วัตถุสิ่งของ]  [กรรม คือ พืช] และ [กรรม คือ พลังธรรมชาติ]

มโนทัศน์เหล่านี้สอดคล้องกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่ากรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มนุษย์ผู้กระทำกรรมต้องรับผลของกรรมที่ก่อไว้ แต่มโนทัศน์เหล่านี้แตกต่างจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ผู้ใช้ภาษามีมุมมองเรื่องความหมายของกรรมคลาดเคลื่อนไปและใช้ในความหมายด้านลบ นอกจากนี้มโนทัศน์เหล่านี้มีลักษณะร่วมกันซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้ใช้ภาษาไทยที่มีต่อกรรม 4 ลักษณะ คือ กรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่พึงปรารถนา กรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและมนุษย์จะได้รับผลของการกระทำนั้นอย่างแน่นอน กรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถต่อต้านได้ เป้าหมายในชีวิตมนุษย์ คือ การหลุดพ้นจากบ่วงกรรมและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Duangsri, E. (2018). กรรม : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่สะท้อนความเชื่อในสังคมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 86–102. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133199