แนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133202คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผ้าใยกล้วย, นครสวรรค์, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง วิธีการทำผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย 2) เพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และตัวแทนชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย 3) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย 5) แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและการจัดประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ข้อมูลความรู้ เรื่อง วิธีการทำผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์
จากผ้าใยกล้วย
- หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57, S.D. = 0.50) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตผ้าใยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51,S.D. = 0.50)
- แนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใช้วิธีการอนุรักษ์ การพัฒนา การถ่ายทอด
การส่งเสริมการจัดกิจกรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยน การยกย่องปราชญ์หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นและการค้นคว้าวิจัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว