แนวทางการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าภายในแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวเสม็ดนางชี ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • Wanwisa Rattapong

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133225

คำสำคัญ:

เสม็ดนางชี, จุดชมวิว, เส้นทางเดินเท้า, การพัฒนาการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

จุดชมวิวเสม็ดนางชี ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพสวยงาม เห็นทิวทัศน์ของอ่าวพังงาและชายฝั่งทะเลอันดามันที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและเป็นแหล่งดูดาวยามค่ำคืนท่ามกลางธรรมชาติ เนื่องจากจุดชมวิวนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จึงมีความสุ่มเสี่ยงจะถูกพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าภายในจุดชมวิวเสม็ดนางชีแห่งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทฤษฎีการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันของเส้นทางเดินเท้าในจุดชมวิวเสม็ดนางชี เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2544) ได้วางข้อกำหนดทั่วไปในการจัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้จำนวน 9 ข้อ โดยเส้นทางเดินเท้าของจุดชมวิวเสม็ดนางชีมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดเพียง 3 ข้อ ได้แก่ (1) เป็นเส้นทางไปจุดชมวิวทิวทัศน์ (2) นักท่องเที่ยวไม่กระจุกตัวอยู่พื้นที่เปราะบางเพราะมีจุดชมวิว 2 จุด (3) ใช้เวลาเดินไปกลับไม่เกิน 45 นาที และส่วนที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดจำนวน 6 ข้อ มีแนวทางปรับปรุงดังนี้ (1) ปรับปรุงด้านความปลอดภัย ไม่ให้มีจุดที่ลื่น เป็นโคลน หรือมีน้ำขัง  (2) สร้างลานจอดรถเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการจอดรถข้างถนน (3) เพิ่มป้ายสัญลักษณ์ที่ถูกต้องและชัดเจน (4) ก่อสร้างเส้นทางถาวรเพื่อความคงทนและบำรุงรักษาน้อย (5) ทำบันไดถาวรทุกจุดที่ลาดชัน (6) ผู้ประกอบการต้องเข้าใจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและการสื่อความหมาย เน้นหนักในด้านความปลอดภัย และคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Rattapong, W. (2018). แนวทางการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าภายในแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวเสม็ดนางชี ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 216–225. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133225