ความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมอุตสาหกรรมเซรามิกวิสาหกิจท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Noppadol Amdee

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.175933

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ความคุ้มค่า, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม, อุตสาหกรรมเซรามิก, วิสาหกิจท้องถิ่นราชบุรี

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมอุตสาหกรรมเซรามิก วิสาหกิจท้องถิ่นราชบุรี  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาต้นทุนการผลิตและด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมของอุตสาหกรรมเซรามิกวิสาหกิจท้องถิ่นราชบุรีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ วิธีการวิจัยนั้นทางผู้วิจัยได้เริ่มต้นตั้งแต่การดำเนินการเก็บข้อมูลทางด้านการผลิตและราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มราคาของแต่ละผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม และจากการดำเนินงานวิจัย พบว่า ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 109.10, 37.96 และ 29.35 บาท ระยะเวลาการคืนทุนแบบลดส่วนอยู่ที่ 3.41, 11.58 และ 12.48 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 491,329,430, 272,764,578 และ 166,917,267 บาท อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำอยู่ที่ 36.15%, 15.9% และ 14.48% และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนอยู่ที่ 6.60, 3.52 และ 3.08 ตามลำดับ การวิเคราะห์ความไวทั้ง 3 กรณี     พบว่า อุตสาหกรรมฯ ขนาดเล็กมีความเหมาะสม เนื่องจากมีระยะเวลาในการคืนทุนน้อยกว่า 15 ปี และอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำมากกว่า 12% ซึ่งแสดงว่าอุตสาหกรรมเซรามิกส์ขนาดเล็กยังมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคต

References

กฤตภาส มงคลธำรงกุล. (2555). การประเมินโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 17(1), 3-12.

เทพบุตร เวชกามา, วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม, วาสนา อากรรัตน์, และ รัชกร อรชุน. (2555). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลากะพงขาว. วารสารเทคโนโลยีการประมง. 6(1), 103-114.

เตชินท์ ฮ้อแสงชัย. (2557). การประยุกต์การจัดการโครงการในการออกแบบและสร้างเครื่อง หยอดกาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธนาคารกสิกรไทย. (2560). อัตรากู้ยืมเงิน. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2560 จาก https://www.kasikornbank.com/TH/Social-Activities/Pages/index.aspx

ธนาคารกรุงไทย. (2560). อัตราดอกเบี้ยสูงสุดประเภทเงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ. สืบค้น เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://www. ktb.co.th/ktb/Download/rateFee/
RateFeeDownload_4048loan_27_04_59.pdf

นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2559). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการพัฒนา

แหล่งน้ำบาดาลพุ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 56(3), 108-137.

เพ็ญศรี ขุนทอง. (2554). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนทำฟาร์มโคนมของ ฟาร์มนำร่องสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ภคพร บุญมหาธนากร. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของการ ปลูกข้าวญี่ปุ่นแบบเกษตร พันธะสัญญาของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเศราฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

โลจิสติกส์ไทม์. (2560). สถาปัตย์ มจพ. สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออก ตอบโจทย์ ภาคอุตสาหกรรม. สืบค้น เมื่อ 15 กันยายน 2560, จาก
https://www.logisticstime.net/archives/6980

วาฏิกาณ์ ไพศาลธยางกูล. (2557). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเดินเรือคลองแสบแสบ ส่วนต่อขยายจากวัดศรีบุญเรืองถึงสำนักงานเขตมีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2559). นิยาม SMEs. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.ismed.or.th/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%
E0%B8%B2%E0%B8%A1-smes/

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 (เมษายน - มิถุนายน) พ.ศ. 2560 (อุตสาหกรรมเซรามิก). สืบค้น เมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก https://www.ryt9.com/s/oie/2703448

Blank, L., & Tarquin, A. (2002). Engineering economy (5thed.) New York: McGraw-Hill.

Yochio, K., & Marvin, R. (1999). Life cycle cost (LCC) analysis in oil and chemical process industry. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2559, จาก
www.ntnu.no/ross/reports/lcc.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2019

How to Cite

Amdee, N. (2019). ความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมอุตสาหกรรมเซรามิกวิสาหกิจท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 132–142. https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.175933