การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ ของเด็กและเยาวชนไทยในจังหวัดชัยนาท
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.182135คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงบูรณาการ, การป้องกันการตั้งครรภ์, เด็กและเยาวชนไทยในจังหวัดชัยนาทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารของครอบครัวและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน รวมถึงการนำเสนอรูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการของครอบครัว และการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่สามารถร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง และกลุ่มเยาวชนในระบบการศึกษาที่เคยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (ต่ำกว่า 20 ปี) จาก 3 รูปแบบครอบครัว ซึ่งเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์และครอบครัวไม่สมบูรณ์ในจังหวัดชัยนาท ครอบครัว (เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง) ละ 2 คน ในแต่ละอำเภอรวม 8 อำเภอ รวมจำนวนทั้งหมด 48 คน กลุ่มครู กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอละ 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ จำนวน 5 ชุดของแต่ละกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ตรวจความสมบูรณ์ของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า มีผลการวิจัยคือ การสื่อสารของครอบครัว ควรพูดคุยหรือให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กและเยาวชนแบบเปิดใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องเพศ และร่วมกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ใน 5 ด้าน ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล ในกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ป้องกันการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน และการบูรณาการการสื่อสารควรเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันระหว่างการสื่อสารของครอบครัวและการสื่อสารของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน
References
Pornrhuhdee Nithirat. (September 2007 – February 2008). The Sex Communication Situation between Parents and Adolescent in Thai Family. Journal of Phrapokklao Nursing College. Chanthaburi Province, 19(1): 45-55.
Sridawruang, C., Pfeil, M., & Crozier, K. (2010). Why Thai Parents Do Not Discuss Sex with Their Children: A Qualitative Study. Nursing & Health Sciences, 12(4), 437-443. doi: 10.1111/j.1442-2018.2010. 00556.x
Subsak Nakarat. (2013). The Explaination of Chainat Social Development and Human Security Provincial Office to Adolescent and Stakeholders in Protection of Adolescent Pregnancy Problem. National News Agency. Public Relations Department 18/08/56. http://thainews.prd.go.th
Sumitra Niamkan and Somapath Sornchai. (2013). Factors Related to Communication Regarding Sex between Parents and Their Puberty Children. Journal of Phrapokklao Nursing College. Chanthaburi Province, 24(2) : 36-46.
Supawadee Pongsa, et al. (2010). Community Participation in the Prevention of Teenage Pregnancy, Vangchai Municipality, Numpong District, Khonkaen Province. Development Group of Health Promotion and Environment Sanitation.
Thaipbs. (2018). Adolescence Pregnancy and Educational Opportunity. 20/11/2561. https:// news. thaipbs. or.th/ content/2757
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว