การวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกรณีศึกษา : อาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • วินัย หมั่นคติธรรม
  • สิริพร ฤกษ์วีระวัฒนารสกุล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ ชูอินทร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212606

คำสำคัญ:

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะสะท้อน ให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตที่มีวิถีในการ ดำรงชีวิต ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมตามถิ่นที่อยู่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปอิทธิพลวัฒนธรรมสมัยใหม่แพร่ กระจายเข้าสู่สั งคมชนบท ประกอบกับการที่ภาครัฐได้หันมาให้ความสำคัญในเรื่ องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากขึ้นชาวบ้านในพื้นที่จึงนิยมนำบ้านที่ตนเองพักอยู่มาทำเป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น รูปแบบของโฮมสเตย์ จึงมีความหลาก หลาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้ โดยแบ่งเนื้อหาที่ทำการศึกษาออกเป็น3 ประเด็นได้แก่ 1) ลักษณะ ของสถาปัตยกรรมพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม 2) การรวบรวม และจัดหมวดหมู่ของกลุ่มอาคารที่พักแบบโฮมสเตย์และ 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสำหรับระเบียบวิธีวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสำรวจอาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ในจังหวัด ทั้ง 3 อำเภอ จำนวน 60 แห่ง รวมถึงการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบ การ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อสืบถึงประวัติความเป็นมาของอาคารและเหตุผลในการปรับเปลี่ยนอาคาร เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายครบจะทำการคัดแยกและจัดกลุ่มของ โฮมสเตย์ตามลักษณะทางกายภาพของอาคาร จากนั้นจะทำการประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group Discussion) โดยเชิญผู้ประกอบการ จำนวน 8 ท่าน เพื่อหาข้อสรุปในการวิจัยผลของการวิจัยพบว่า ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีด้วยกัน 2 แบบแรก คือ แบบเรือนไทยที่มีลักษณะหลังคาทรงสูงแบบพู่ระหงมีความอ่อนช้อยงดงาม ส่วนแบบที่สอง เป็นหลังคาทรงมนิลา ทรงเตี้ย และเมื่อศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ที่ พักแบบโฮมสเตย์ ภายในจังหวัดสามารถจัดกลุ่มของโฮมสเตย์ได้เป็น6 กลุ่ม โดยมีกลุ่มเรือนสมัยใหม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่กลุ่มเรือนพื้นบ้าน กลุ่มเรือนไทยที่มีการดัดแปลง กลุ่มเรือนไทย กลุ่มเรื อนแถวและกลุ่มเรือนพิเศษตามลำดับสำหรับประเด็นของสาเหตุที่ก่อให้เกิดของการเปลี่ยนแปลงตัวเรือน มจากเหตุผลหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) สาเหตุจากการผุพังและเสื่อมสลายของวัสดุ 2) การขาดความรู้ทางด้านการอนุรักษ์และขาดผู้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลรักษา 3) การอพยพย้ายถิ่นฐาน 4) การขาดแคลนช่างฝีมือ 5) การราคาวัสดุมีราคาแพงและ 6) ค่านิยมที่ต้องการมีบ้านสมัยใหม่แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2019

How to Cite

หมั่นคติธรรม ว., ฤกษ์วีระวัฒนารสกุล ส., & ชูอินทร์ ผ. (2019). การวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกรณีศึกษา : อาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212606