การศึกษาศักยภาพของชุมชนท่าคาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (เตาตาล) จากมุมมองของชุมชนและนักท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • สิริพร ฤกษ์วีระวัฒนา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212621

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การจัดการ, ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ของชุมชนท่าคาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร(เตาตาล) จากมุมมองของชุมชนและนักท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบผสม(Mixed Research Methods) คือระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมีประชากรที่ศึกษาคือ คนในชุมชนท่าคา12 หมู่บ้าน จำนวน5,647 คน ขนาด กลุ่มตัวอย่างที่เลือกคือ 30 คนและทำการสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างจนกว่าข้อมูลจะซ้ำโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง(Structured In-Depth Interview Question) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้ที่ มี ส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยว เชิงเกษตร(เตาตาล) คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันผู้อาวุโสในชุมชน เจ้าของเตาตาล ปราชญ์ชาวบ้าน ชาว- บ้านและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (con­tent analysis) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรนักท่อง เที่ยวโดยเฉลี่ยต่อปี165,600 คน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ คือ 400 คนโดยการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของTaro Yamane ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ(Accidental Sam­pling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามโดยใช้มาตรวัดทัศนคติของออสกูด(Semantic Differential scale) โดยแบ่งเป็น5 สเกลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาโดยใช้ตารางแสดงค่าความถี่ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่าชุมชนเชื่อว่า ชุมชนมีศักยภาพใน ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เตาตาลในด้านความสะอาด ความเพียงพอของทรัพยากรกายภาพต่างๆ อาทิ ถังขยะ ร้านอาหาร ห้องน้ำที่จอดรถ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ที่พัก โฮมสเตย์ และรีสอร์ท และรถ-เรือสาธารณะเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว โดยการจัดการในแหล่งท่องเที่ยวเตาตาลนั้นเป็นความรับผิด ชอบของเจ้าของเตาตาลเอง ที่จะจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ กับนักท่องเที่ยว ส่วนศักยภาพในด้านการจัดการการท่องเที่ยว เชิงเกษตร(เตาตาล) ในด้านต่างๆ จากมุมมองของนักท่องเที่ยว พบว่า มีความพึงพอใจในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเตาตาล มากที่สุดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.67 รองลงมาพอใจในความปลอดภั ยของแหล่งท่องเที่ ยวโดยเฉลี่ ยอยู่ในระดั บ3.63 นอกจาก นั้นมีความพอใจในศักยภาพด้านต่างๆ ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย ความเหมาะสมของเส้นทางท่องเที่ยว (3.44) ความเพียงพอของเรือสาธารณะเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว (3.42) ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว (3.39) ความเพียงพอของที่พักโฮมสเตย์และรีสอร์ท(3.36) ความเพียงพอของร้านอาหาร (3.33) ความเพียงพอของที่จอดรถ (3.27) ความเพียงพอของ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก(3.06) ความเพียงพอของห้องน้ำ(2.89) ความเพียงพอของรถสาธารณะเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว(2.62) ตามลำดับ

References

[1] โฉมยง โต๊ะทอง. 2544. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติ-
การเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนภาย
ใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (กรณีศึกษาจังหวัด
เพชรบุรี).
[2] เทิดชาย ช่วยบ?ำรุง. 2552. บทบาทขององค์กร-
ปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่1. วิทยาลัยพัฒนาการ-
ปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า
[3] พัชรา ลาภลือชัย. 2546. ความพึงพอใจของนัก-
ท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการตลาดน?้ำด?ำเนิน-
สะดวก จังหวัดราชบุรีและตลาดน?้ำท่าคา จังหวัด
สมุทรสงคราม
[4] ยุวดี นิรันดร์ตระกูล. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย พ.ศ.2548 –
2549. หน้า 2 E – TAT Tourism Journal.
[5] รัศมี ชูทรงเดช, โครงการการสืบค้นและจัดการ
มรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอ?ำเภอปาย-
ปางมะผ้า– ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จาก
www.abc-un.org สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2553
[6] วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะและคณะ. 2550.
ตลาดน?้ำท่าคา : การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
[7] สุรเชษฐ์ บุญพงษ์มณี. การจัดการที่อยู่อาศัยโฮม-
สเตย์ ณ บ้านท่าคา อ?ำเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม
[8] Janet Fingleton. 2004. Cultural heritage
management : policy and practice in
two country towns, historic environ
ment. volume 17 number 3 .pp 29-31
[9] Tessa Jowell, Article Better place to live :
Government ,Identity and the value of the
historic and built Environment. Department
for culture . Media and Sport

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2019

How to Cite

ฤกษ์วีระวัฒนา ส. (2019). การศึกษาศักยภาพของชุมชนท่าคาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (เตาตาล) จากมุมมองของชุมชนและนักท่องเที่ยว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 21. https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212621