ความรู้ และ เจตคติ ต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยของ ผู้เข้ารับบริการด้านแพทย์แผนไทย ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พิมพร ทองเมือง

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212631

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, แพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจความรู้และ เจตคติ ต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยของผู้เข้ารับบริการด้านแพทย์แผนไทย ในจังหวัดสมุทรสงครามจำนวน 414 คน ในจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงวันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31สิงหาคม พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ทำการ วิเคราะห์ความรู้และเจตคติที่สำคัญต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยด้วยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค และสรรพคุณในการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาโรคอยู่ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 79.0 เมื่อพิจารณาถึงเจตคติในการเข้ารับบริการด้านแพทย์ แผนไทย พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.3 เชื่อว่าเมื่อได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยแล้วอาการเจ็บป่วยจะหายเป็นปกติแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่ใจ ในการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทย

References

[1] คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
ที่มา;http://www.dtam.moph.go.th/internet/
dtamdownload/Book%20Phet%20Thai.pdf
[2] ปราณี ลิมป์วรรณ. (2552). แบบสรุปผลการตรวจ
ราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวง
สาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2552.
[3] มลิวัลย์ สมทรง, เกสรา ศรีพิชญาการ และฉวี เบาทรวง.
การดูแลสุขภาพแบบทางเลือกและแบบผสมผสานใน
สตรีวัยกลางคน.พยาบาลสารปีที่ 34 ฉบับที่ 2 เม.ย.-
มิ.ย. พ.ศ. 2550, 119-128.
[4] สถาบันแพทย์แผนไทย. รายชื่อศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ
แผนไทย ปีงบประมาณ 2544-2546. นนทบุรี: สถาบัน
การแพทย์แผนไทย; 2546.
[5] สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงาน
ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2551. โครงการส่งเสริม
สนับสนุน และเร่งรัดการพัฒนาการแพทย์แผนไทย
การแพทย์ทางเลือก และธุรกิจบริการสุขภาพ. 65-68.
[6] สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุปจากรายงาน
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพและ
ประชาชนไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544) เอกสารวิชาการ.
โรงพิมพ์ ส. พิจิตรการพิมพ์; 2546.
[7] สำเนียง รัตนวิไลวรรณ. ประเมินผลโครงการจัดบริการ
แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐตาม
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารแพทย์-
แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. ปี 5 ฉบับที่ 2 พ.ค.- ส.ค.
2550, 131-141.
[8] หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค. ๐๔๑๗/ ว ๑๔ ลงวัน
ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547. เรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาล
กรณีการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการทางแพทย์แผนไทย.
เอกสารโรเนียว.
[9] อาภัย มาลินี.พฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณในชุมชน
อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี. ที่มา ; http://www.
pharmyaring.com/download/doc091130223715.
pdf
[10] Rosenstock, I. M. 1974. Historical origins of the
health belief model. Health Education
Monographs, 2, 328-335.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2019

How to Cite

ทองเมือง พ. (2019). ความรู้ และ เจตคติ ต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยของ ผู้เข้ารับบริการด้านแพทย์แผนไทย ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 40. https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212631