Cultural Capital for Sustainable Tourism at Taka Community, Amphawa District, Samut Songkhram Province

ผู้แต่ง

  • สุวรรณฤทธิ์ วงศ์ชอุ่ม

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212633

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, คุณค่าทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท่าคา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมจั ดหมวดหมู่และ 2) วิเคราะห์ความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมตำบลท่าคา เพื่อเป็นแนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหิมะ จนได้ข้อมูล ที่ซ้ำกันปรากฏกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 14 คน จาก ประชากรจำนวน 28 คน อีกทั้งใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็น รายบุคคลด้วยแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างเป็นเครื่อง มือเก็บข้อมูล และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความหมาย และ ความสัมพันธ์ของเนื้อหาซึ่งผลของการวิจัยปรากฏว่า ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันลำคลอง และการสัญจรทางน้ำยังคงทำหน้าที่เชื่อมโยง อาชีพ การตั้งบ้านเรือน และความศรัทธา ของชุมชนท่าคาเข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งการสัมผัสได้ถึงความเป็น ตำบลท่าคาผ่านทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ ออกเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยบ้านเรือนไทยของกำนันจัน และตลาดน้ำท่าคา ด้านสังคม เช่น วัดมณีสรรค์ ศาลเจ้าแม่ตั้วเนี้ย ด้านสุนทรียภาพ เช่น วัดเทพประสิทธิ์ วิถีชีวิตริมน้ำและด้านวิชาการ อาทิ การทำน้ำตาลมะพร้าว ตลาดน้ำท่าคา ผลที่ตามมาคือสายน้ำและการสัญจรทางน้เชื่อมโยงชุมชนเข้ากับสถานที่สำคัญ และศาสนสถาน รวมทั้งส่งผลต่อการประกอบอาชีพจนกลาย เป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่มเอกลักษณ์เฉพาะของตำบลท่าคา

References

ไกรนุช ศิริพูล. 2547. เที่ยววัดไทยในจังหวัดสมุทร-

สงคราม. กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรการพิมพ์.

ยุคลธร เตชะวนากร. 2545. แม่ค้าตลาดำ : วิถีชีวิต

และการธำรงเอกลักษณ์ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ พัฒนา

แรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาแรงงาน

และสวัสดิการ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. 2546. ทุนวัฒนธรรม : วัฒนธรรม

ในระบบทุนนิยมโลก เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. 2546. วิจัยธุรกิจยุคใหม่.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ และคณะ. 2550. “ตลาด-

นำท่าคา: การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.”

วารสารร่มพฤกษ์. 25, 2 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม):

-250.

จรูญ เจือไทย. (2553, 19 เมษายน และ 8 กรกฎาคม).

สัมภาษณ์.

ทวีป เจือไทย. (2553, 19 เมษายน และ 8 กรกฎาคม).

สัมภาษณ์.

ณรงค์ ธรรมสวัสดิ์. (2553, 19 เมษายน และ 8 กรกฎาคม).

กำนันตำบลท่าคา. สัมภาษณ์.

ฐานิดา สีเหลือง. (2553, 19 เมษายน). ผู้ใหญบ้านหมู่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2019

How to Cite

วงศ์ชอุ่ม ส. (2019). Cultural Capital for Sustainable Tourism at Taka Community, Amphawa District, Samut Songkhram Province. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 47. https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212633