กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจเครื่องนุ่งห่มขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212644คำสำคัญ:
Value Chain Management, Competitive Advantage, Entrepreneursบทคัดย่อ
โครงสร้างเศรษฐกิจของไทยพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนสูงเกินกว่าร้อยละ60 ของGDP วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับ4 ของประเทศมูลค่าการส่งออกกว่า3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯและนำรายได้สู่ประเทศกว่า4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือกว่า1 แสนล้านบาทที่มีการจ้างงานมากที่สุดกว่า1 ล้านคน(สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2552) ปัจจุบันเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการสร้างความรู้ใหม่ๆเป็นการปฏิรูปกระบวนการผลิตใหม่และพัฒนาศักยภาพและทักษะให้สามารถสร้างผลิตภาพ(Productivity) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับนานาประเทศอีกทั้งยังปรับตัวเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์(Creative Entrepreneur) เพื่อรองรับกับภาครัฐบาลที่ได้ส่งเสริมแผนพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ตั้งแต่ปี2553-2555 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยควรปรับปรุงและพัฒนาตนเองโดยเฉพาะSMEs ควรทำการพัฒนาและปรับปรุงทั้งระบบภายในและพัฒนาด้านการออกแบบและด้านการวิเคราะห์การตลาดต่างประเทศเพื่อมุ่งเน้นการหาตลาดใหม่และปรับเปลี่ยนตำแหน่ง(Segment) ให้มีความเหมาะสมกับศักยภาพของธุรกิจและควรปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับจ้างการผลิต(OEM) มาเป็นการพัฒนาเป็นตราสินค้า(OBM) แทนเพื่อหลีกเลี่ยงกับการแข่งขันด้านราคากับประเทศจีนอินโดนีเซียหรือเวียดนามนอกจากนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยควรรวมตัวกันในแบบCluster เพื่อประโยชน์ร่วมกันและการนำนวัตกรรมสิ่งทอแนวใหม่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่างออกไปจากเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดและมุ่งเน้นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม(Niche Market) ที่สามารถทำกำไรและเพิ่มมูลค่าและกลยุทธ์เป็นวิธีการที่ทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์โดยมีความสามารถในการแข่งขันและเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกต่อไป
References
เครื่องนุ่งห่มภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. การศึกษา-
อิสระมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดวงแก้ว ศิวะทรานนท์. (2547). ความสามารถในการ
แข่งขันการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสา-
หกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพพา เพิ่มลาภ. (2545). ความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิชนันท์ ไทรงาม. (2551). ศักยภาพการแข่งขันของ
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยในยุคการค้าเสรี.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
(2552). รายงานภาวะเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2544). แผนกลยุทธ์
และแผนปฏิบัติการเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
สาขา (ฉบับทบทวนใหม่). กรุงเทพมหานคร.
สุกัญญา อินทโชติ. (2548). ผลกระทบการจัดตั้งเขต-
การค้าเสรีอาเซียนต่อการส่งออกสิ่งทอของไทยไป
ประเทศอาเซียน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
โสชญา เหลี่ยวไชยพันธุ์. (2548). ผลกระทบต่ออุตสา-
หกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยภายหลังจากการ
เปิดเสรีสิ่งทอภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO).
รายงานวิจัย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Porter Michael E. (1980). Competitive Strategy:
Techniques for Analyzing Industries and
Competitors. Harvard Business Review.
_____________. (1980). Competitive advantage:
Creating and Sustaining Superior performance.
New York:The Free Press. p. 33-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว