แนวทางการดาเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ของพนักงานเก็บขนมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1.213826คำสำคัญ:
ระดับความพึงพอใจ, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน, พนักงานเก็บขนมูลฝอยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ของพนักงานเก็บขนมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเพื่อจัดทาแนวทางความปลอดภัยใน
การปฏิบัติงานของพนักงานดังกล่าวต่อไป วิธีการศึกษาดาเนินการโดยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ
ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเก็บขนมูลฝอยสังกัดสานักงานเขตทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานครจานวน
370 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนการจัดสนทนากลุ่มประกอบไปด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้า
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะที่ควบคุมดูแลพนักงานเก็บขนมูลฝอยจาก 12 เขต จานวน
12 คน และตัวแทนพนักงานเก็บขนมูลฝอยจากเขตนั้น ๆ อีกเขตละ 1 คน จานวน 12 คน รวมทั้งสิ้น
24 คน ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของ
พนักงานเก็บขนมูลฝอยในกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 2.95) และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอุปกรณ์เครื่องจักรของรถเก็บ
ขนมูลฝอยก็พบว่า พนักงานเก็บขนมูลฝอยมีความพึงพอใจในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ( x = 3.24,
3.10 และ 2.52 ตามลาดับ) 2) ส่วนแนวทางความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขน
มูลฝอยที่สาคัญๆ และมีความเร่งด่วน ได้แก่ การจัดโครงการตรวจสุขภาพประจาปีโดยเพิ่มจานวน
การตรวจชนิดของโรคให้มากขึ้น การจัดซื้ออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจารถเก็บขนมูลฝอย
การจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลเพิ่มเติมให้แก่พนักงาน การกาหนดขนาดของพื้นที่ยืนบน
รถเก็บขนมูลฝอยที่เหมาะสมกับความปลอดภัยของพนักงานที่ต้องยืนในขณะปฏิบัติงาน และการกาหนดจุดทิ้งมูลฝอยให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ ตามลาดับ
References
New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970).
Determining sample size for
Research Activities. Educational
and psycho logical measurement,
pp. 608-609.
Krungthep Turakij Media. (2015). Bangkok
garbage collectors risk germs more
than usual 15 percent. Retrieved
May 22, 2016 from http://www.
bangkokbiznews.com/news/detail/6
51669
Likert. (1976). New pattern of management.
New York: MacMillan Publishing Co.
Ministry of Labor and Social Welfare.
(2014). The study report on labor
movement to ASEAN community.
Retrieved July 20, 2014
fromhttp://www.mol.go.th/sites/def
ault/files/downloads/pdf/9._bththii
_5_noybaayaelamaatrkaar.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว