การรับรู้ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการตลาด และรูปแบบ กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ศณัทชา ธีระชุนห์
  • เมธาวัตร ภูธรภักดี
  • ตรีฤกษ์ เพชรมนต์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1%20SUP.213865

คำสำคัญ:

การรับรู้, สิ่งแวดล้อมทางการตลาด, กลยุทธ์การสร้างตราสินค้า, ผลิตภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบกลยุทธ์การสร้างตราสินค้าของ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประชากรคือ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP จากรายงานผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน
ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2557 จากจังหวัดนครศรีธรรมราชในกลุ่มหัตถกรรม รวม 589 ราย ใช้วิธีการ
เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จานวน 10 ราย มีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ OTOP แบบเจาะลึก
ด้วยเครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปนั้น ใช้การสรุป
ประเด็นความคิดเห็น โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (70%)
อายุ 50-59 ปี (50%) และมีระยะเวลาที่ดาเนินกิจการ คือ 3 ปี (20%) 7-13 ปี (40%) และ 20 ปีขึ้นไป
(40%) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านการตลาดอย่างแท้จริง ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวผู้ประกอบการเอง
คู่แข่ง ลูกค้า หรือแนวโน้มของสภาพแวดล้อมและแนวโน้มใหม่ทางการตลาดต่าง ๆ ได้ จึงเป็นการยากที่
จะพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกาหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้ดาเนินงานชุมชนได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการไม่เข้าใจ
คาว่า ตราสินค้าอย่างแท้จริง มักตั้งชื่อการค้าด้วยชื่อเฉพาะของกลุ่มผู้ประกอบการ และผสมรวมกับ
ประเภทของสินค้าทั้งที่เป็นวัตถุดิบ คุณสมบัติ หรือแม้แต่สินค้าสาเร็จรูป

References

Anunvrapong. A. (2014). The Product
Development Approach of Banghuosueo
Community, Samut Prakan Province
Following the Sufficiency Economy
Philosophy. Journal of Fine Arts
Research and Applied Arts. 1 (2), 126-151.
Armstrong, G., and Kotler, P. (2011).
Marketing: An introduction. (10th
ed.). Upper Saddle River, N.J:
Pearson Prentice Hall.
Batra, R., Ramaswamy, V., Alden, D.L.,
Steenkamp, J-B., E. M., and
Ramachander, S. (2000). Effects of
Brand Local and Nonlocal Origin on
Consumer Attitudes in Developing
Countries. Journal of Consumer
Psychology. 9(2), 83-95.
Central Region Economic and Social
Development Office. (2013). The
Creative Economy Development
at the Community Level: the
Case of Central Region Thai
Desserts. Bangkok: Office of the
National Economic and Social
Development Board.
Community Development Department,
Ministry of Interior. (2014). Report
of OTOP Producers and
Entrepreneurs Registered Products
in the Year 2014, Accessed Date
[June 18th, 2016] from the
information sources. [http://
113.53.241.24/CDDReport/rpRegiste
rs.aspx]
Keawserm, T. (2008). Problems and
Needs for Capabilities Development of
OTOP Entrepreneurs in Petchabun
Province. Petchabun: Petchabun
Rajabhat University.
Özsomer, A. (2012). The Interplay
between Global and Local Brands:
a Closer Look at Perceived Brand
Globalness and Local Iconness.
Journal of international marketing.
20(2), 72-95.
Porter, M.E. (1996). What Is Strategy?.
Harvard Business Review. 74(6), 61-78.
Sungrugsa, N., and Siriwongse, P. (2010).
Factors Influencing Market Adaptation
Strategies of Local and Community
Products in Rachaburi Province.
Silpakorn Educational Research
Journal. 2(1), 220 – 233.
Thammachoto, J. (2012). Brand Names of
Community Products in Songkhla.
Journal of Humanities and Social
Sciences, Thaksin University. 7(1),
237 – 270.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2019

How to Cite

ธีระชุนห์ ศ., ภูธรภักดี เ., & เพชรมนต์ ต. (2019). การรับรู้ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการตลาด และรูปแบบ กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1 SUP), 22. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1 SUP.213865