แผนยุทธศาสตร์ชุมชนเทศบาลเวียงเชียงแสนเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนและพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • จามรี พระสุนิล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1%20SUP.213868

คำสำคัญ:

แผนยุทธศาสตร์ชุมชน, เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน, พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทาแผนยุทธศาสตร์ชุมชน ร่วมกับกลุ่มผู้นาชุมชนเทศบาล
ตาบลเวียง อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทั้ง 6 ชุมชน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นโครงการวิจัยภายใต้
แผนงาน “ทุนชุมชนกับการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ของชุมชนเทศบาลตาบลเวียงเชียงแสน อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่าง
มีส่วนร่วม (PAR) ใช้กระบวนการวิเคราะห์ร่วมกับกลุ่มผู้นาชุมชนในเขตเทศบาลเวียงเชียงแสน ได้แก่ ผู้นา
2 หมู่บ้าน 6 ชุมชน คือ หมู่บ้านเวียงเหนือและหมู่บ้านเวียงใต้ ชุมชนวัดเจดีย์หลวง ชุมชนริมโขง ชุมชนทัพม่าน
ชุมชนวัดผ้าขาวป้าน ชุมชนเจ้าแม่นางเซิ้งและชุมชนวัดพระเจ้าล้านทอง ใช้เทคนิค AIC SWOT และสนทนากลุ่ม
โดยการสัมภาษณ์ และจัดเวทีชุมชนเป็นเครื่องมือการวิจัย มีขั้นตอนหลักในการทาแผนยุทธศาสตร์ชุมชน
ภายใต้ฐานคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืนของพื้นที่เวียงเชียงแสนทั้ง 6 ชุมชน
ผลการวิจัย พบว่า แผนยุทธศาสตร์ชุมชนเทศบาลเวียงเชียงแสนที่มาจากการวิเคราะห์ SWOT
ของผู้นาชุมชน โดยนาจุดแข็งของชุมชนมาพัฒนาต่อร่วมกับการรับมือจากปัจจัยภายนอกชุมชนได้วิสัยทัศน์
ชุมชน 4 ด้าน และได้แผนยุทธศาสตร์ชุมชนเทศบาลเวียงเชียงแสน คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนในสังคมภายใต้แบรนด์เมืองประวัติศาสตร์ล้านนาและโลกาภิวัตน์ 2) ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่
สาธารณะเพื่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทั้งพื้นที่ทางกายภาพและสังคมออนไลน์ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ชุมชนเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนสาคัญที่สามารถพัฒนา
สังคม ชุมชนเทศบาลตาบลเวียงเชียงแสน อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายสู่การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน
การท่องเที่ยวบนฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีและการพัฒนา พบว่าชุมชนมีจุดเด่นสาคัญในเชิงพื้นที่ที่
เหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการคมนาคมขนส่ง และได้นาจุดเด่นดังกล่าว
มาวิเคราะห์ร่วมกับการสนับสนุนเชิงนโยบายในพื้นที่เวียงเชียงแสน และจัดทาแผนยุทธศาสตร์ชุมชนที่มี
วิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในการเข้าสู่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและการท่องเที่ยวของ
ชุมชนเทศบาลเวียงเชียงแสน อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งแผนพัฒนาหรือแผนยุทธศาสตร์ชุมชน
นับว่าเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในระดับ
ฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อนาไปสู่การแข่งขันและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทาง
ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมต่อไป

References

Dhiravisit, A. (2010). the strategic social
development and social welfare
areas, case studies, Khon Kaen
province. Khon Kaen University,
Khon Kaen.
Jamkachang, S. (2008). Public Participation
Encouragement : A Case Study of
Community Planning at Bangpra
District Municipality, Chonburi
Province. Journal of education
and social development, 4th
Edition, academic year 2008
Burapha University.
Krainara, C. (2012). Invitation to study
the development and administration
of special economic zones in
border countries. The Office of
the central economic and social
development. Bangkok.
Prachachat business News. (2015). Chaing
Rai Wade hands (Lao PDR), the
development of special economic
zone "-the word triangle, Chiang
Saen Options"(online). Searching
from http://www.Prachachat.net/
news_detail.
Wasi, P. (1998). Subdistrict community.
Bangkok: Matichonbook.
Yenpeam, K. (2008). Community planning
processes rely on myself, case
studies: comparing communities
in central bar with pilot
communities in Bangkok. Bangkok.
Yospun, A and others. The strengthening
of community organizations, to
resolve the problem of poverty
in the area, na Muang Lampang
kwao pan.. Lampang rajabhat
University (n.d.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2019

How to Cite

พระสุนิล จ. (2019). แผนยุทธศาสตร์ชุมชนเทศบาลเวียงเชียงแสนเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนและพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1 SUP), 32. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1 SUP.213868