ยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์การท่องเที่ยวอารยธรรมขอมศรีบุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i1%20SUP.213874คำสำคัญ:
เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวในเขตอารยธรรมขอมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพ ปัญหาและความต้องการในการรวมกลุ่มเครือข่าย
วิสาหกิจการท่องเที่ยว 2) เพื่อจัดทาแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ
การท่องเที่ยว โดยดาเนินการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมเชิงปฏิบัติการ 5 ครั้ง
พบผลการศึกษาดังนี้คือ
ศักยภาพในการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมกลุ่มจังหวัด พบมี 4 ด้าน คือ
1) ความครบถ้วนและความหลากหลายของวิสาหกิจทางการท่องเที่ยวตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน 2) กลุ่ม
เครือข่ายวิสาหกิจทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ 3) การสนับสนุนของภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและชุมชน
และ 4) ระดับความสามารถดึงดูดของสินค้าและบริการของวิสาหกิจการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม แต่มีปัญหา
ของการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ การท่องเที่ยว 5 ประเด็น คือ 1) แรงขับเคลื่อนของผู้นา 2) ความมุ่งหวัง
ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม 3) ทิศทางและแผนงานดาเนินการ 4) ความขัดแย้งของวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมเดียวกัน และ 5) ความเข้าใจการบริหารกลุ่มเครือข่าย ดังนั้นจึงส่งผลต่อ ความต้องการ
การรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยว 3 ประเด็น คือ 1) การเพิ่มโอกาสทางการตลาด 2) การพัฒนา
สมรรถนะทางธุรกิจ และ 3) การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถทาง
การแข่งขันของธุรกิจ
แผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยว ปี 2554 – 2559
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์กรความร่วมมือกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวสู่การยกระดับผลิตภาพสินค้า
และบริการทาง การท่องเที่ยวอารยธรรมขอมศรีบุรินทร์ มีพันธกิจ 5 ด้าน คือ 1) กากับ ดูแลสมาชิก
วิสาหกิจการท่องเที่ยว 2) พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพและผลิตภาพการบริการของสมาชิกวิสาหกิจ
การท่องเที่ยว 3) พัฒนาช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวของกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจการท่องเที่ยว 4) พัฒนา
ระบบข้อมูลและการประชาสัมพันธ์กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจการท่องเที่ยว และ 5) เป็นตัวกลางประสานงาน
ของกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจการท่องเที่ยวร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมียุทธศาสตร์
4 ด้าน คือ 1) การบูรณาการ และส่งเสริมความร่วมมือสมาชิกกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยว
อารยธรรมขอมศรีบุรินทร์ 2) การสร้างระบบสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ
การท่องเที่ยวอารยธรรมขอมศรีบุรินทร์ 3) การสร้างและพัฒนาช่องทางการตลาดการท่องเที่ยว
เชิงอารยธรรมขอมศรีบุรินทร์ 4) การพัฒนาผลิตภาพและมาตรฐานสินค้า และบริการ วิสาหกิจและ
บุคลากรบริการทางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมศรีบุรินทร์
References
(2010). Retrieved April 23. 2011,
from http://info.dip.go.th/cluster.
accessed March 28th, 2011.
Leelawannakulsin, P. (2006). Cluster
Integration Progress. The Manager
Magazine Weekly, February 27, 2006, pp.7.
Office of the Permanent Secretary,
Ministry of Tourism and Sports.
(2008). Retrieved April 23.2011,
from http://secretary.mots.go.th/
ewt_news. accessed September 5th,
2009.
Porter, M. E. (1998). “Clusters and the
New Economics of Competition”.
Harvard Business Review 76(6): 77-90.
The Development of Support Industries,
Department of Industrial Promotion.
(2003). Bangkok Business. Retrieved
May 21, 2010, from http://
www.nidambe11.net/ekonomiz/200
3q2/article2003may22p2.htm acces
sed November 14th, 2009
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว