การพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v4i1.214127คำสำคัญ:
บทความบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการดำเนินการการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) วิเคราะห์การดำเนินการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 3) พัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4) ประเมินคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีการ
เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ มีคณาจารย์ 900 คน เป็นข้าราชการร้อยละ 46.89เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และอัตราจ้างร้อยละ 53.11 ผลการวิเคราะห์จุดอ่อนของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมคือ 1)งบประมาณในการบริหารจัดการยังน้อย 2) จำนวนนักศึกษาลดลง 3) จำนวนบุคลากรสายสอนและสายสนับสนุนมีน้อย4) อาคารสถานที่คับแคบ/ห้องปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ 5)เครื่องมืออุปการณ์ ครุภัณฑ์เก่า และมีน้อย 6) ความรู้พื้นฐานของนักศึกษาต่ำ 7) คุณวุฒิปริญญาเอกและผลงานทางวิชาการของอาจารย์ยังน้อย 8) ยังขาดความร่วมมือร่วมใจ/ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน 9) สื่อการเรียนการสอน ครุภัณฑ์ไม่เพียงพอ10) ขาดแผนการพัฒนาศักยภาพ นักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
มาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (QS.In-tech.2010) 8 มาตรฐาน คือ 1) ด้านนักศึกษาและคุณภาพบัณฑิต 2) ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน 3) ด้านการวิจัย และงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ 4) ด้านงบประมาณและด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านอาจารย์ และบุคลากรสนับสนุน 6) ด้านการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี 7) ด้านการบริหารจัดการและศิลปวัฒนธรรม และ 8) ด้านกลไกการประกันคุณภาพ ตามลำดับผลการจัดอันดับคุณภาพตามมาตรฐาน QS.Intech2010 จาการประเมิน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพทั้ง 8 คณะ 1) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รับรองคุณภาพระดับดี (4.23) 2) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รับรองคุณภาพ ระดับดี (3.98) 3) คณะ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมและอัญมณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช-ภัฏรำไพพรรณี รับรองคุณภาพ ระดับดี (3.92) 4) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับรองคุณภาพระดับดี (3.67) 5) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร รับรองคุณภาพ ระดับดี (3.61) 6) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชรับรองคุณภาพ ระดับดี (3.59) 7) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับรองคุณภาพ ระดับดี (3.59)และ 8) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รับรองคุณภาพ ระดับดี (3.59)
References
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว