ฑ-มณโฑ จากพจนานุกรมไทย 10 ฉบับ
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214156คำสำคัญ:
ฑ มณโฑ, อักษรไทย, ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ, สัทศาสตร์, สัทวิทยาบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาที่มาและการพัฒนาเสียงของอักษร <ฑ> และศึกษาการเกิดเสียงแปร [th] และ [d] ของอักษร <ฑ> โดยรวบรวมคำศัพท์ที่ใช้อักษร <ฑ> จากพจนานุกรมไทยจำนวน 10 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักภาษาศาสตร์เชิงประวัติ สัทศาสตร์ และสัทวิยา ประกอบกับสถิติ ผลการศึกษาพบว่า เสียงของอักษร <ฑ> พัฒนามาจากหน่วยเสียงในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ได้แก่ หน่วยเสียงโฆษะปลายลิ้นม้วน /ɖ/ เทียบได้กับอักษรเทวนาครี <ड> และหน่วยเสียงโฆษะฐานฟัน /d̪/ เทียบได้กับอักษรเทวนาครี <द> เมื่อรับเข้ามาในภาษาไทยอักษร <ฑ> ส่วนใหญ่จะออกเสียงอโฆษะปุ่มเหงือก [th] คิดเป็นร้อยละ 46.04 ในตำแหน่งต้นพยางค์ และออกเสียงโฆษะฐานปุ่มเหงือก [d] ร้อยละ 15.79 ที่ตำแหน่งต้นพยางค์เช่นกัน คิดเป็นอัตราส่วน [d]:[ th] ประมาณ 3:1 ที่ตำแหน่งต้นพยางค์
อักษร <ฑ> ที่ออกเสียง [th] สันนิษฐานได้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นการออกเสียงให้สอดคล้องกับหน่วยเสียงที่มีในภาษาไทยเช่นเดียวกับอักษร <ท> ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับหลักการยืมคำและกฎของกริมม์ที่หน่วยเสียงโฆษะกลายเสียงเป็นหน่วยเสียงอโฆษะ และพัฒนาเสียงธนิต และกรณีที่ 2 คือ การบัญญัติศัพท์ในคำศัพท์ที่ปรากฏตั้งแต่พจนานุกรมฉบับ ร.ศ. 120 เป็นต้นมา ส่วนอักษร <ฑ> ที่ออกเสียง [d] สันนิษฐานได้ 2 กรณีเช่นกัน กรณีแรก คือ การคงร่องรอยของเสียงตั้งแต่แรกรับมาใช้ สอดคล้องกับการใช้อักษร <ด> และ <ฎ> ก่อนปรับมาใช้อักษร <ฑ> และกรณีที่ 2 เป็นการบัญญัติศัพท์เช่นเดียวกับข้อสันนิษฐานกรณีที่ 2 ของอักษร <ฑ> ที่ออกเสียง [th] โดยไม่พบการแปรเสียงของอักษร <ฑ> เนื่องจากไม่มีปริบทของการแปรเสียงจากเสียงสระหรือโครงสร้างพยางค์
References
modern dialects. Bangkok: Social
Science Association Press of Thailand.
Calfee, R. C. (2005). The exploration of
Davids, T. W. R. and W. Stede.
(1921-1925). The Pali Text Society's
Pali-English dictionary. London:
Pali Text Society. English Orthography.
In T. R.
Fasold, R. and J. Connor-Linton. (2006).
An Introduction to language and
linguistics. Cambridge: Cambridge
University Press.
Jones, C. M. and I. Sigh. (2005). Exploring
Language Change. New York:
Routledge Taylor & Francis Group.
Li, F. K. (1977). A handbook of
comparative.
Pallegoix, J. B. (1854). Dictionarium
linguae Thai. Paris: Jussi Imperatoris
Impressum.
Pallegoix, J. B. (1896). Sariphotphasa
Thai. Bangkok: Imprimerie de la
Mission Catholique. Publication 5,
University of Hawaii.
Tai. Oceanic Linguistics Special Trabasso.
(ed.). From orthography to
pedagogy: essays in honor of
Richard L. Venezky. Hillsdale, N.J:
Lawrence Erlbaum, 8-19.
Tumtavitikul, A. (1992). Consonant
onsets and tones in Thai. Ph.D.
Dissertation, The University of
Texas at Austin.
Williams, M. M. (1872). A Sanskrit-English
dictionary etymologically and
philologically arranged with
special reference to Greek, Latin,
Gothic, German, Anglo-Saxon,
and other cognate Indo-
European languages. Oxford: The
Clarendon Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว