ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ของถนนคนเดิน กรณีศึกษาถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • เมติญา ไถเหี้ยม
  • ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214161

คำสำคัญ:

ถนนคนเดิน,ถนนถลาง, ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพในปัจจุบันของถนนถลาง และความเหมาะสมสำหรับการเป็นถนนคนเดิน 2) ศึกษาสภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้งาน และรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ถนนคนเดิน 3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมถนนคนเดินถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต

การศึกษานี้มีการเก็บข้อมูล 2 ลักษณะ คือ การสำรวจและการสัมภาษณ์ โดยในการสำรวจนั้นทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพ การใช้พื้นที่ และลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น ส่วนการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มาใช้ถนนคนเดินนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ รวมถึงการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวกับถนนคนเดิน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

ผลการศึกษาพบว่า ถนนถลางมีปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์สำหรับการเป็นถนนคนเดิน ได้แก่ ความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายในการสัญจรเข้าถึงพื้นที่ และความสะดวกในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายการสัญจรอื่น แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่า จุดจอดรถรับส่งผู้โดยสาร รถบริการ และพื้นที่จอดรถยังไม่เหมาะสม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบทางกายภาพมีความเหมาะสม ได้แก่ ความกว้างถนน สภาพพื้นผิวถนน รวมถึงรูปแบบการตั้งร้านค้าในถนนคนเดิน ปัจจัยด้านทัศนียภาพและความงามทางสายตามีความเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ปัจจัยด้านกิจกรรมค่อนข้างมีความเหมาะสม และปัจจัยด้านการบริหารจัดการของพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ปัญหาห้องน้ำ จุดนั่งพัก อุปกรณ์ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ควรได้รับการปรับปรุง

References

Ampansap, S. (2003). A Studyof Desirable
Physical Environmentfor Walking
Streets: A Case Studyof Tha Phar
Road, Chiang Mai Province.
Brambilla Roberto, and Longo Gianni.
(1977). For Pedestrians only:
Planning, Design and Management of
Traffic–Free Zones. New York:
Watson-Guptill Publications.
Chivakul, et al., (1982). Markets in
Bangkok: Expansion and Development.
The Project of Research Affairs to
commemorate The Ratanakosin
Bicentennial. Bangkok: Chulalongkorn
University.
Department of Landscape Architecture
Faculty of Architecture Chulalongkorn
University. (1988). Guide development
of the urban landscape for
tourism. Bangkok: Chulalongkorn
University.
Gehl, Jan. (1987). Life Between Building:
Using Public Space.New York: Van
Nostrand Reinhold.
Horayangkura, V. (1998). Human behavior
on the environment: the basic
behavior to design and plan.
( 6thed) . Bangkok: Chulalongkorn
University.
Jacobs, Allan B. ( 1993) . Great Streets.
Cambridge: The MIT Press. Master
Thesis, Landscape Architecture
Bangkok. Chulalongkorn University.
Oranratmanee, R and Sachakul, V. (2012).
The Use of Public Space for
Walking Street Marketin Thai
Urban Cities. The Higher Education
Commissionand The Thailand
Research Fund.
Piet, Peter. (1996). “Street for People.”
Landscape Journal 15, 21
(September), 45-46.
Rubenstein, Harvey M. (1992). Pedestrian
Malls, Streetscape and Urban
Space. New York: John Wiley & Sons.
Søholt, Helle. (2003). Life, Spaces and
Buildings: Quality Criteria for
Good Public Spaces and The
Working Methods Dealing with Public
Life.Seattle: Design Interdisciplinary
Master Studio, University of Washington.
Tibbalds, Francis. (1992). Making People-
Friendly Towns: Improving the
Public Environment in Towns and
Cities. London: Spon press.
Watthanabanchong, C. (1996). Planning
Guildlines for Solving Traffic
Problems byPredestrian Zone in
Silom Road Area Bangkok
Metropolis. Master thesis, Arts
(Sociology) Bangkok. Chulalongkorn
University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ไถเหี้ยม เ., & ด่านกิตติกุล ช. (2019). ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ของถนนคนเดิน กรณีศึกษาถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 53. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214161