การเจียรนัยทรัพยากรท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอบางปะอิน แนวทางการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของประชาชน และองค์กรของชุมชนในตำบลเกาะเกิด

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร อินทพรหม
  • วณิฎา ศิริวรสกุล
  • พิทักษ ปักษานนท

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214179

คำสำคัญ:

การสร้างความร่วมมือ, การบูรณาการความร่วมมือ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา (1) สภาพความร่วมมือของชุมชน (2) ปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือของชุมชน และ (3) รูปแบบและแนวทางการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของประชาชนและองค์กรของชุมชนในตำบลเกาะเกิด อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบของการวิจัยใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรในชุมชน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และพระภิกษุสงฆ์ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการสรุปและตีความเชิงอุปนัยและการวิเคราะห์เชิงตรรกะ แล้วใช้การพรรณนาความ ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ผลวิจัย พบว่า

1. สภาพความร่วมมือของตำบลเกาะเกิด แม้ตำบลเกาะเกิดจะมีการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความร่วมมือกันของประชาชนและองค์กรของชุมชนในตำบลยังมีมาก โดยเฉพาะกิจกรรมหรือโครงการด้านสาธารณะประโยชน์ของตำบล จะมีบ้างที่ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเลย ซึ่งเป็นส่วนน้อยของชุมชน

2. ปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือของตำบลเกาะเกิด ยังไม่เป็นปัญหาที่รุนแรง ที่มีและส่งผลต่อความร่วมมือบ้าง เช่น ปัญหาทางการเมือง ปัญหาสังคมที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลทางสังคมและความแตกต่างของศาสนา ปัญหาของผู้นำชุมชนบางคนที่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากเกินไปหรือบางคนยังไม่เป็นผู้นำที่ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือได้ดีพอ ปัญหาด้านงบประมาณที่มีจำกัดขององค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล และปัญหาการมีส่วนร่วมของคนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน

3. แนวทางการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของตำบลเกาะเกิด มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ (1) การมีผู้นำหรือองค์กรที่ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง ที่สร้างความน่าเชื่อถือและสามารถประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภายในตำบลและนอกตำบลได้ เช่น นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส ครู อาจารย์ หรือองค์กรภายนอก เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐต่างๆ (2) การสื่อสารและการประสานงานที่ดี (3) การสร้างจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งในฐานะประชาชนและผู้ที่ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น สมาชิก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ (4) การจัดให้กิจกรรมสาธารณะ ที่ไม่มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

References

Agranoff, R. (2006). Inside collaborative
networks: Ten lessons for public
managers. Public administration
review, 66(s1), 56-65.
Entwistle, T., & Martin, S. (2005). From
competition to collaboration in
public service delivery: A new
agenda for research. Public
administration, 83(1), 233-242.
Hager, M., & Curry, T. (2009). Models of
Collaboration: Nonprofits Working
Together. Arizona State University
Lodestar Center for Philanthropy
and Nonprofit Innovation.
Linden, R. (2003). The discipline of
Collaboration. Leader to Leader
Journal, 29 summer 2003, pp.41-47.
Mandell, M., & Steelman, T. (2003).
Understanding what can be accomplished
through inter organizational innovations
The importance of typologies,
context and management strategies.
Public Management Review, 5(2),
197-224.
Middel, R., Gieskes, J., & Fisscher, O. (2005).
Driving collaborative improvement
processes. Production planning &
control, 16(4), 368-377.
Ostrom Elinor. (2001). The contested role
of heterogeneity in collective action:
Some evidence from community
forestry in Nepal. World Development,
29(5), 747-765.
Spicer S. (2006). Book review: G. R.
Marshall, economics for collaborative
environmental management,
earthscan, sterling, VA. Agriculture,
Ecosystems and Environment,
122(4), 494-495.
Sarah S. Elkind. (1994). Regionalism
politics and the environment:
Metropolitan public works in
Boston, Massachusetts and
Oakland, California, 1840 to 1940
and beyond. Dissertation Abstracts
International, 55(08), 2538-A. (UMINo.
9500919).
Tanya Heikkila & K. Gerlak. (2005). The
Formation of Large-scale Collaborative
Resource Management Institutions:
Clarifying the Roles of Stakeholders,
Science, and Institutions. Policy
Studies Journal 33 no.4583-612 N
2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

อินทพรหม ว., ศิริวรสกุล ว., & ปักษานนท พ. (2019). การเจียรนัยทรัพยากรท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอบางปะอิน แนวทางการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของประชาชน และองค์กรของชุมชนในตำบลเกาะเกิด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 146. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214179