การวิเคราะห์เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่

ผู้แต่ง

  • กี จันทศร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214181

คำสำคัญ:

เพลงเรื่อง เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน และทางฆ้องวงใหญ่

บทคัดย่อ

เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่ ที่นำมาวิเคราะห์นี้ ผู้วิจัยได้รับถ่ายทอดมาจากครูสุรินทร์ สงค์ทอง ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากครูบุญยงค์ เกตุคง (ศิลปินแห่งชาติ) สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ซึ่งเป็นทางเพลงของสำนักครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ที่นักดนตรี เรียกขานกันว่า “สำนักบ้านขมิ้น”

เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน เป็นเพลงที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่ปรากฏนามผู้เรียบเรียง จัดเป็นเพลงเรื่องประเภท “เพลงฉิ่ง” คือ ไม่มีจังหวะหน้าทับตีประกอบทำนองเพลง และเป็นการนำเอาเพลงฉิ่งอัตราจังหวะ สองชั้นและชั้นเดียว ที่มีทำนองใกล้เคียงกันมาผูกเรียงร้อยเชื่อมต่อกันเป็นเพลงเรื่อง ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขณะที่พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ในปัจจุบันนักดนตรีไม่นิยมบรรเลงเนื่องจากทำนองเพลง จำยาก จึงทำให้เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวันกำลังจะสูญหายไป

ผลจาการวิเคราะห์เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน พบว่า

1. ประกอบด้วยเพลงทั้งสิ้น จำนวน 13 เพลง แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก เป็นเพลงฉิ่งอัตราจังหวะสองชั้น จำนวน 10 เพลง ได้แก่ เพลงจิ้งจกทอง เพลงตะท่าร่า เพลงท่าน้ำ เพลงฟองน้ำ เพลงฝั่งน้ำ เพลงมีลม เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงทะเลบ้า เพลงลอยถาด และเพลงพญาพายเรือ ช่วงที่สอง เป็นเพลงฉิ่งอัตราจังหวะชั้นเดียว จำนวน 2 เพลง ได้แก่ เพลงมะตีมู และเพลงนกกิ้งโครง และช่วงที่สาม เป็นเพลงรัวฉิ่ง

2. มีกลุ่มเสียงหรือบันไดเสียง 6 เสียง ได้แก่ โด เร ฟา ซอล ลา และที

3. มีเสียงลูกตกครบทุกเสียง

4. มีทำนองเสียงลูกโยนหลัก 4 เสียง ได้แก่ เร มี ซอล และที

5. มีการใช้มือฆ้องวงใหญ่หลายแบบ ได้แก่ ตีเป็นคู่เสียงต่างๆ เช่น (คู่สอง คู่สาม คู่สี่ คู่ห้า คู่แปด และตีถ่างมือคู่สิบ) ตีสะบัดขึ้นและลง ตีสะเดาะ ตีสลับมือซ้าย-ขวา และตีแบ่งมือซ้าย-ขวา

6. วิธีการบรรเลง ฆ้องวงใหญ่ตีขึ้นนำก่อนเป็นลำดับแรก คือ “เพลงจิ้งจกทอง”

สรุปว่าเพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่ เป็นเพลงเรื่องที่มีความต่อเนื่องกลมกลืนไพเราะน่าฟัง แต่ทำนองเพลงวกวนจดจำยาก และมีการใช้มือฆ้องวงใหญ่หลากหลายรูปแบบ

References

Chaisuwan, P. (2015, December 18)
Thailand National Artist or Music.
Specialist in Thai Classical Music,
Collage of Music, Mahidol University.
Interview.
Dokladda, S. (2002). The Analytical Study
o ‘Plaeng Rueang Khamer Yai : A
Case Study of Khong Wong Yai’s.
Thesis, Collage of Music, Mahidol
University.
Naksawas, U. (1979). Theory and Practice
of Thai Classical Music. Bangkok:
Thepnimit Printing.
Noynit, T. (1981). The Analytical Study of
Plaeng Rueang Nanghong: Thesis:
Master of Arts (Ethnomusicology).
Graduate School, Srinakarintaraviroj
Prasarnmit University.
Phikulsri, C. (1987). Music Appreciation
in Thai Classical Music. Bangkok:
O.S. Printing House.
Pidokruch, N. (1991). The Analytical
Study of Plaeng Satukarn: Thesis:
Master of Arts (Cultural Study).
Graduate School, Mahidol University.
Pitokruch, N (14). Thai Classical Music
Dictionary. Nakornpratom: Mahidol
University.
Pukaowtong, S. (1984). Theory and
Principles of Movement in Musical
Scale. Bangkok: Ruernkaew Printing.
Pukaowtong, S. (1989). Thai Classical
Music and The way to Thai Classical
Music. Bangkok: Ruernkaew Printing.
Songthong, S. (2015, December 19). Guest
Lecturer, Collage of Music, Mahidol
University. Interview.
Sowat, N. (2015, December 20) Specialist
in Thai Classical Music, Bunditpatanasilpa
Institute. Interview.
Sripong, T. (1997). Plaeng Cha Rueang
Plaeng Yao : A case study of
Kongwong Yai Melody. Thesis:
Master of Arts (Ethnomusicology)
Graduate School, Srinakarintarawiroj
Prasarnmit University.
Thammawiharn, S. (1989). Thai Classical
Music. Bangkok: Chulalongkorn University.
Tramote, M. (1938). Glossary of Thai
Classical Music terms (3rd ed.).
Bangkok: finearts Department Printing.
Tramote, M. (1997). Knowledge of Thai
Classical Music. (2nd ed.). Bangkok:
Pikanas Printing.
Tramote, M. and Kultan, W. (1989).
Listening and Understanding in Thai
Classical Music. Bangkok: Thai Kasem.
Wisuthipat, N. (1990). Analysis of Thai
Classical Music. Bangkok: Chuan
Printing.
Wongkong, C. (1996). Music Appreciation.
Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

จันทศร ก. (2019). การวิเคราะห์เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 158. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214181