การศึกษาคุณลักษณะดอกบัวแดง เพื่อถอดแบบลวดลาย สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214216คำสำคัญ:
คุณลักษณะ, ดอกบัวแดง, ถอดแบบลวดลาย, ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบทคัดย่อ
การศึกษาคุณลักษณะดอกบัวแดง เพื่อถอดแบบลวดลายสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
วัตถุประสงค์งานวิจัย 1) ศึกษาคุณลักษณะของดอกบัวแดง เพื่อทาการวิเคราะห์และถอดแบบลวดลาย
2) นาลวดลายดอกบัวแดงมาประยุกต์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก จานวน 3 ท่าน แบบประเมินผลงานการออกแบบ จากนั้น
สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแล้วประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มผู้บริโภค วิธีการคัดเลือก
แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จานวน 300 คน
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางกายภาพที่สามารถสื่อถึงลักษณะเฉพาะของดอกบัวแดงได้
ดีที่สุด คือ ดอกบัว (บัวตูม, บัวบาน) เพราะสามารถสื่อถึงความเป็นแหล่งท่องเที่ยว “ทะเลบัวแดง”
ได้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา สามารถสร้างความจดจาแก่นักท่องเที่ยวได้ง่ายที่สุด มีความเหมาะสมที่
สามารถมาออกแบบเป็นลายหลัก ส่วนคุณลักษณะอื่น ได้แก่ ใบบัว เกสร และก้าน มีความเหมาะสมใน
การออกแบบเป็นลายประกอบ เหง้าเป็นส่วนเดียวที่ไม่เหมาะสมในการนามาถอดแบบลวดลาย เพราะ
เหง้ามีความพันเกี่ยวกันมาก ทาให้นามาถอดแบบลายได้ยากและไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการจะสร้าง
ความจดจาแก่นักท่องเที่ยวในรูปแบบของที่ระลึกจะมีความน่าสนใจน้อยที่สุด เพราะเหง้าจะเกิดอยู่ใต้น้า
โดยปกตินักท่องเที่ยวจะไม่เห็นเหง้าเมื่อมาชม “ทะเลบัวแดง” การถอดลวดลายเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์
ของที่ระลึกสาหรับเพศหญิง 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) วัยทางาน อายุเฉลี่ย 25-60 ปี มีกาลังในการ
ซื้อมาก แนวทางการออกแบบ คือ ลายแบบเสมือนจริง (Realistic) นาเสนอภาพแบบเสมือนจริง
คงเค้าโครงเดิมไว้อย่างชัดเจน และ 2) วัยรุ่น อายุเฉลี่ย 15-25 ปี กาลังในการซื้อน้อย แนวทาง
การออกแบบ คือ ลายแบบสมัยนิยม (Pop art) เหมาะสมกับสตรีวัยรุ่น ลักษณะลายประเภทนี้มีสีที่
ฉูดฉาด สดใส รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ แก้วน้า และสมุดโน้ต
ผลการประเมินการออกแบบลวดลายนามาผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ 3 ชนิด สรุปได้
ว่าผู้บริโภคให้ความสนใจดังนี้ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์สมุดโน้ต อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63)
อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.57) อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์แก้วกาแฟ
อยู่ในเกณฑ์มาก (ค่าเฉลี่ย 4.49) โดยเกณฑ์ในการจัดอันดับ ผู้บริโภคจะคานึงในเรื่องของราคาสินค้าเป็น
อันดับแรก ลาดับต่อมาคือพิจารณาถึงการนาไปใช้งาน และการขนส่งหรือพกพาเป็นลาดับสุดท้าย
References
Phatthanapanithiphong, P. (2010).
Ban Chiang by bringing unique
design applied to processed
products, fabric painting, batik to
guide the development of
souvenir products, Udon Thani.
Khon Kaen: Khon Kaen University.
Page 237-242.
Lekhakun, K. (1992). Lotus Queen of
Aquatic plant. Bangkok: Suanluang
RAMA IX.
Ruangwannasak, K. (2015). Ban Chiang
Pottery pattern stamp :
Integrated into Design of
Commercial Products. Chon Buri:
Burapha University.
Tourismthailand. (2011). traveling “Red
Lotus Sea”. [Online]Available:
http://www.dailynews.co.th/thailan
d/3678.
Wanitchanon, S. (1997). lotus decoration.
Bangkok : Phuean Kaset Public.
Wanitwong, K. & Sikkha, S. (2010). A Study of
Mural Art in Luangprabang Laos
Prd for Applied Design and
Development of Souvenir Products.
Burapha University's Journal, 13(1),
Page 21-31.
Wasuwat, S. (2004). decoration with
lotus flower 1. Bangkok: Nation
Books.
Wiersema, J. H. (2013). Nymphaea
dentata information from
NPGS/GRIN. Ars-grin.gov.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว