การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและ อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยใช้แบบจาลอง CAPM: กรณีศึกษาหลักทรัพย์ CPR, UMS, BOL, NINE, AF และ ARIP

ผู้แต่ง

  • ศรันยา ทัพไชย
  • กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214276

คำสำคัญ:

หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ,อัตราผลตอบแทน, ความเสี่ยง, ค่าสัมประสิทธิ์เบต้า, ทฤษฎีการตั้งราคาหลักทรัพย์

บทคัดย่อ

สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีความผันผวนในเรื่องของราคาหลักทรัพย์และอัตราผลตอบแทน อันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจปัจจัยทางการเมือง อัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น ดังนั้นผู้ลงทุนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีองค์ประกอบในการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อหลักทรัพย์ โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงและผลการตอบแทนในการลงทุนก่อนที่จะลงทุนเพราะการลงทุนในหลักทรัพย์แม้จะสร้างผลตอบแทนแก่นักลงทุนได้ในขณะเดียวกันก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย และยังส่งผลให้นักลงทุนไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ได้กาหนดไว้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กับอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของตลาด และ 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังภายใต้แบบจาลอง Capital Asset Pricing Model (CAPM) กับอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จานวน 6 หลักทรัพย์ได้แก่บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จากัด (มหาชน)โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ CPR, บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จากัด (มหาชน)โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ UMS, บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จากัด (มหาชน)โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์BOL,บริษัท เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จากัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ NINE,บริษัท ไอร่าแฟคตอริ่ง จากัด (มหาชน)โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ AF และบริษัท เออาร์ไอพี จากัด (มหาชน)โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ ARIP ตั้งแต่วันที่1 มกราคม2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555 รวมเป็นระยะเวลา 489 วันทาการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์จากทฤษฎีการตั้งราคาหลักทรัพย์ (CAPM)

ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลตอบแทนของตลาดมีค่าเท่ากับ 0.09 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ สามารถจาแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือหลักทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตลาดมีจานวน 3 หลักทรัพย์ คือ BOL, NINE และCPR ขณะที่หลักทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ากว่าตลาดมีจานวน 3 หลักทรัพย์ คือ ARIP,AF และ UMS

ผลการศึกษาความเสี่ยงพบว่า ค่าความเสี่ยงของตลาดมีค่าเท่ากับ 1.10โดยเมื่อทาการเปรียบเทียบกับความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พบว่า หลักทรัพย์ทั้ง 6 หลักทรัพย์มีค่าความเสี่ยงสูงกว่าตลาดทั้งสิ้นคือ NINE, AF, ARIP, UMS, CPRและ BOL ผลการศึกษาความเสี่ยงที่วัดโดยค่าสัมประสิทธิ์เบต้าพบว่ามีจานวน 2 หลักทรัพย์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้ามากกว่าตลาดคือ NINEและARIPและมี4หลักทรัพย์มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้าน้อยกว่าตลาดคือ UMS,BOL, AF และ CPR ส่วนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอไอที่นักลงทุนควรตัดสินใจที่จะลงทุนมีจานวน2 หลักทรัพย์ได้แก่ CPRและBOL เนื่องจากหลักทรัพย์เหล่านี้เป็นหลักทรัพย์ที่มีราคาต่ากว่าที่ควรจะเป็น (Undervalued) ขณะที่หลักทรัพย์ที่นักลงทุนไม่ควรตัดสินใจที่จะลงทุนมีจานวน 4หลักทรัพย์คือUMS, NINE, AF และ ARIP เนื่องจากเป็นหลักทรัพย์ที่มีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น (Overvalued)

References

[1] กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนหลักทรัพย์ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง โดยใช้แบบจาลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (CAPM)”. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2556. [2] กิตติยาพร คชาอนันต์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยใช้ทฤษฏีการตั้งราคาหลักทรัพย์ (CAPM)”. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ ปีที่ 2ฉบับที่ 4 ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2555.
[3] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน, 2552, หน้า 2
[4] ธีระ ลัมประเสริฐ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2555. “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค โดยใช้ตัวแบบจาลองการกาหนดราคาหลักทรัพย์”. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจปีที่2 ฉบับที่4 ตุลาคม –ธันวาคม 2555. [5] สุพจน์ สกุลแก้ว. 2553. การวิเคราะห์งบการลงทุน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. [6] WeeraWeerakhajornsak. 2008. “Asset Pricing in Energy Sector: The Evidence from Stock Exchange of Thailand”. Graduate School, Department of International Business Administration, Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ทัพไชย ศ., & คงสวัสดิ์เกียรติ ก. (2019). การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและ อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยใช้แบบจาลอง CAPM: กรณีศึกษาหลักทรัพย์ CPR, UMS, BOL, NINE, AF และ ARIP. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 38. https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214276