การออกแบบของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • นวภรณ์ ศรีสราญกุลวงศ์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214285

คำสำคัญ:

ออกแบบของที่ระลึก,สวนสุนันทา,อัตลักษณ์สวนสุนันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตลักษณ์ “สวนสุนันทา” กับการออกแบบของที่ระลึกของมหาวิทยาลัย ที่ให้ความสาคัญ ด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นต้นทุนหลักในการผลิต ทาให้เกิดความคิดต่าง และไม่ทิ้งความเป็นตัวตนมากกว่า มูลค่าและต้นทุนของวัสดุที่ใช้ในการผลิต ผ่านวิธีดาเนินการวิจัย โดยศึกษาข้อมูลภาคเอกสารเน้นประวัติความเป็นมาของวังสวนสุนันทา เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งเป็นเขตพระราชฐานเดิม และศึกษาเทคนิคงานเดคูพาจ เพื่อออกแบบสินค้าของที่ระลึกต้นแบบของมหาวิทยาลัย จานวน 3 ชุด 10 ชิ้น พบว่า อัตลักษณ์ที่เหมาะสมนามาใช้ในงานวิจัยคือ พระบรมราชานุสรณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ลวดลายจากสถาปัตยกรรมของพระตาหนักภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เครื่องหมาย “ส” ภายใต้มงกุฎพระมหากฐิน ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และ พระราชลัญจักรประจารัชกาลที่ 9 เป็นตราสัญญาลักษณ์ประจามหาวิทยาลัยราชภัฏและดอกแก้วเจ้าจอม ดอกไม้ประจามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อนามาออกแบบโดยผ่านขั้นตอนการออกแบบวางลวดลายลงบนชิ้นงาน ทาให้ได้ผลงานรูปแบบใหม่

จากการสร้างสรรค์ของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยโดยนาอัตลักษณ์ “สวนสุนันทา”ผ่านการออกแบบสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า สามารถผลิตของที่ระลึกต้นแบบ โดยใช้เทคนิคเดคูพาจ สร้างของที่ระลึกที่มีความสวยงาม และพบว่าเทคนิคเดคูพาจยังสามารถต่อยอด นาไปทาผลิตในปริมาณหรืองานฝีมือ โดยการปรับปรุงวัสดุในการสร้างลวดลวยให้มีความเหมาะสมกับปริมาณที่ต้องการ

References

[1] วิทยาลัยครูสวนสุนันทา. 2523. สวนสุนันทาในอดีต.กรุงเทพฯศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. ยินดีต้อนรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ออนไลน์. เข้าถึงได้จากURL:http://issuu.com/creativethailand/docs/ct-magazine-01. 26 เมษายน 2554.
[2] สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ประวัติสวนสุนันทา ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก :URL:www.culture.ssru.ac.th/information/fileupload/info_150.doc. 10 สิงหาคม 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ศรีสราญกุลวงศ์ น. (2019). การออกแบบของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 49. https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214285