พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทย

ผู้แต่ง

  • คณิตา หอมทรัพย์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3%20SUP.214292

คำสำคัญ:

พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, วรรณกรรม

บทคัดย่อ

พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็น
วรรณกรรมที่คนไทยรู้จักอย่างแพร่หลาย ลักษณะและบทบาทของตัวละครพระมหาชนกโพธิสัตว์
คล้ายคลึงกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หลายประการ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในฐานะเป็นวรรณกรรม
เฉลิมพระเกียรติของไทยที่มีเนื้อหายกย่องและสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์
การวิจัยครั้งนี้มีวิธีดาเนินการวิจัยโดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่อง การยกย่อง
พระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การใช้วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระมหากษัตริย์ และบทบาทของวรรณคดีชาดกกับการสื่อสารสถานภาพพระมหากษัตริย์เป็น
พระโพธิสัตว์มาเป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกใน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีฐานะเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทยจาก
การนาเสนอพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผ่านลักษณะ บทบาท และวิถีชีวิตของพระมหาชนกอย่างแนบเนียน แสดงให้เห็นถึงพระราชสถานะของ
พระมหากษัตริย์เป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์เห็นได้จากการใช้คาเรียกพระมหาชนก เหตุการณ์พระราชบิดา
สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์ และต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง การเดินทางกลับบ้านเมืองเมื่อเจริญวัย
ลักษณะการเป็นผู้มีกาลัง การกระทาความเพียรอันบริสุทธิ์จนรอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง การกระทากิจ
ที่แท้จริงจนสาเร็จ ชีวิตครอบครัว การฟื้นฟูเกษตรกรรม และการไม่ออกบวชเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่
เดือดร้อนของพระมหาชนก พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกได้เน้นย้าให้เห็นถึงบทบาทของวรรณกรรม
พระพุทธศาสนาต่อการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันซึ่งเป็นขนบของการแต่งวรรณกรรม
เฉลิมพระเกียรติของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและยังมีลักษณะการแต่งวรรณกรรมชาดกเพื่อยกย่อง
พระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์เช่นเดียวกับวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นเรื่องมหาชาติคาหลวง

References

Bundham, D. (2012). Thai King and
Buddhism . Bangkok: Amarin Printing
and Pubishing Co., Ltd.
Jantarawong, S. (2006). Mahachatkhamluang :
The Political Meaning. In Reviews of
Literature on Politics and History,
pp. 280- 300. Bangkok: Kobfai.
Lithai, Phaya. (2011). Tribhumpraruang.
Bangkok: Sinlapabannakan.
Poramintara Maha Bhumibol Adulyadej,
His Majesty the King. (2014). The Story
of Mahajanaka by His Majesty the
King Bhumibol Adulyadej. (6th ed).
Bangkok: Amarin Printing and
Publishing Co., Ltd.
Preechapermprasit,D and Homsab, K. (2014).
Bhumibol’ s Characteristics Buddha
the Dasaparami of His Majesty
the King Bhumibol Adulyadej.
Bangkok: Amarin Printing and Pubishing
Co., Ltd.
Satchapan,R. (2008). Mahajanaka: Father's
teachings. In The King of Knowledge
and Arts : The Steering Wheel of
Literature in Royal Book by His
Majesty the King Bhumibol
Adulyadej. Pp.33-62.Bangkok: P.E.N.
International Thailand-Centre Under
the Royal Patronage of H.M. The King.
Sothanasathian, S et al. (2010). The Wide
View in the Story of Mahajanaka
by His Majesty the King Bhumibol
Adulyadej. The Project of Discussion
on Royal Book: Nai-in-
Phupidthonglangphra, Tito and
Mahajanaka Phase 3.
Yamcharoen, N. (2001). Discourse analysis of
His Majesty's composition "Mahajanaka".
Master’s Thesis, Department of Speech
Communication and Performing Arts ,
Faculty of Communication Arts,
Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

หอมทรัพย์ ค. (2019). พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(3 SUP), 68. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3 SUP.214292