พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ มกรมณี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214302

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมือง พฤติกรรมเยาวชน หน้าที่พลเมือง พลเมืองศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คาถามการวิจัยประกอบด้วย 1) เยาวชนมีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองเพียงใด 2) เยาวชนหญิงและเยาวชนชายมีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร และ 3) เยาวชนนักเรียนและเยาวชนนักศึกษามีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารที่รับผิดชอบกิจการนักเรียนนักศึกษา 10 คน ผู้นาเยาวชน 90 คน นักศึกษา 480 คน และนักเรียน 89 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นามาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง t-test ที่ระดับนัยสาคัญ.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนมีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองปรากฏเป็นบางครั้ง โดยเรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ เคารพความแตกต่าง เคารพกฎกติกา-เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคม เคารพหลักความเสมอภาค มีอิสรภาพ-พึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ เยาวชนไม่เคยมีส่วนร่วมทางานในองค์กรเพื่อสังคมอย่างมีนัยสาคัญ 2) เยาวชนหญิงกับเยาวชนชายมีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และไม่มีส่วนร่วมทางานในองค์กรเพื่อสังคมเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เยาวชนหญิงมีพฤติกรรมเคารพกฎกติกา-เคารพกฎหมายมากกว่าเยาวชนชายอย่างมีนัยสาคัญ 3) เยาวชนนักเรียนกับเยาวชนนักศึกษามีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีปรากฏเป็นบางครั้งเช่นเดียวกัน และไม่มีส่วนร่วมทางานในองค์กรเพื่อสังคมอย่างมีนัยสาคัญเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นักเรียนปรากฏพฤติกรรมที่แสดงว่ามีอิสรภาพ-พึ่งตนเองได้ เคารพกติกา- เคารพกฎหมาย และรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่านักศึกษาอย่างมีนัยสาคัญ

References

[1] ถวิลวดี บุรีกุล. 2551. บทบาทของการพัฒนาพลเมือง (Civic Education) เพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไทย-เยอรมนี. นาเสนอในการสัมมนา วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 จัดโดย สถาบัน ร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท. [2] ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง. 12 เมษายน 2554. เปิดผลสารวจคนไทยแยกไม่ออก ระหว่างคาว่า “ประชาชน -พลเมือง”. ศูนย์ช่าวนโยบายสาธารณะ (ออนไลน์)http://thaireform.in.th/newshighlight/item/5664- 2011-04-12-08-33-56.html
[3] ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. 2552. การศึกษาเพื่อสร้าง
พลเมือง (Civic Education): พัฒนาการเมืองไทยโดย
สร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[4] วรากรณ์ สามโกเศศ. 2554ก (3 มีนาคม). การศึกษา
เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. มติชน. 2554ข (12
เมษายน). การบรรยายในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง
ระหว่างสถาบันพระปกเกล้า และมหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
[5] ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์). 2553(16 กันยายน). มองการเมืองใหม่ผ่านสายตาเยาวชน.(ออนไลน์). http://research.bu.ac.th. (20 ตุลาคม). จิตสานึกรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน (ออนไลน์). http://research.bu.ac.th/
[6] สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2548. พลเมืองศึกษาของไทย :
นโยบายและการปฏิบัติในโรงเรียน. จุฬาสัมพันธ์.
48(13). กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.2554. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น
พลเมือง พ.ศ. 2553-2561. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
[8] Ben-Porath, S. 2006. Citizenship under Fire:
Democratic Education in Times of Conflict.
Princeton, NJ: Princeton University Press.
[9] Cogan, J.J. & Derrocott, R. 2000. Citizenship
for the
21st Century: An International Perspective on
Education. London: Kogan Page.
[10] Schulz, W., Ainley, J., Fraillon, J., Kerr,
D.& Losito, B. 2010. Initial Findings from the
IEA International Civic and Citizenship
Education Study. Amsterdam: MultiCopy
Netherlands.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

มกรมณี ร. (2019). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 74. https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214302