การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เรื่อง สตรีที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ จากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนภรณ์ แสนอ้าย
  • นราพงษ์ จรัสศรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3%20SUP.214308

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์,นาฏยศิลป์ร่วมสมัย, สตรีภาคใต้, ผลกระทบทางด้านจิตใจ, เหตุการณ์ความไม่สงบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหารูปแบบและสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏยศิลป์
ร่วมสมัย ที่สะท้อนสภาวะจิตใจของสตรีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในเขตชายแดนภาคใต้
ของประเทศไทยมีวิธีการดาเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการลงพื้นที่เก็บ
ข้อมูลจากสตรีที่ได้รับผลกระทบในสามจังหวัดชายแดนใต้ จานวน 30 คน ข้อมูลจากเอกสารตารา
สื่อสารสนเทศ การสัมภาษณ์ การสารวจข้อมูลภาคสนาม การใช้เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน แบบสอบถาม
จากนั้นนาข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลองสร้างสรรค์ผลงาน จัดแสดงผลงานต่อสาธารณชน
และสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยครั้งนี้ สามารถจาแนกตามองค์ประกอบของ
การแสดงได้ 8 องค์ประกอบของนาฏยศิลป์ ได้แก่ 1) บทการแสดงใช้โครงเรื่องจริงของสตรีที่สูญเสีย
สามีเป็นหลัก 2) นักแสดง มีพื้นฐานทางด้านนาฏยศิลป์ที่แตกต่างกัน และเน้นนักแสดงที่อาศัยอยู่พื้นที่
ภาคใต้ 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้เทคนิคการเต้นแบบผสมผสานทั้งนาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์ไทย
นาฏยศิลป์พื้นบ้านภาคใต้การแสดงละคร และการเชิดหนังใหญ่ 4) เสียงและดนตรี เป็นการบรรเลง
ดนตรีสด 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้หนังตะลุงขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้
ความรุนแรง 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบให้มีนัยที่สื่อถึงดินแดนทางใต้ของประเทศไทย 7) สถานที่ใน
การแสดงและฉาก ใช้แนวคิดความเรียบง่ายในการออกแบบด้วยการใช้เก้าอี้ม้านั่งยาว 8) แสง ใช้แนวคิด
ทฤษฎีสี และทิศทางของแสงรวมถึงออกแบบให้สอดคล้องกับประเด็นที่นาเสนอ งานวิจัยในครั้งนี้
เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เล่าเรื่องประเด็นของความรุนแรง และเป็นผลงานสร้างสรรค์จากบทสัมภาษณ์
ซึ่งใช้คาสัมภาษณ์เป็นตัวกาหนดการดาเนินเรื่องรวมถึงวิธีการแสดง โดยนาเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์
ร่วมสมัย ที่สร้างจากมุมมองของผู้วิจัยซึ่งเป็นคนภายนอก แสดงให้กับผู้ชมที่เป็นคนภายนอกพื้นที่ได้
รับชม

References

Charassri, N. (2016). History of Wester
Dance. (2thed). Bangkok: Chulalongkron
Universitiy.
Panatsee, S. (2014). Summary of the
insurgency in the provinces of
Southern border in 2014: It is the
year with the least violent
incidents in the past 11 years.
December 27th, 2014. Deep
South. [25 September 2015] from
http://www.deepsouthwatch.org/no
de/6596
Pusu, W. (2014). 6,000 orphans and
2,800 widows: these tell us that
the violence in the South must
be stopped.Isranews Agency. [25
November 2014] from https://www.
isranews.org/content-page/67-southslide/
34676-orphan_34676.html
Ruangdach, K., Gama, A., Choawsuansri,
P., & Saungkaew. (2013). Factors in
Predicting the Quality of Life of
Those Affected by the Insurgency
in Yala. Princess of Nradhiwas
Universiti Journal. Year 5th (Vol.2),
16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

แสนอ้าย ธ., & จรัสศรี น. (2019). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เรื่อง สตรีที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ จากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(3 SUP), 133. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3 SUP.214308