รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • สริตา พันธ์เทียน
  • ทรงคุณ จันทจร
  • มาริสา โกเศยะโยธิน

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3%20SUP.214328

คำสำคัญ:

อาหารไทย, การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย, เศรษฐกิจสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยโดยใช้
แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้าภาคกลาง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในเขตจังหวัด
กรุงเทพมหานคร จังหวัดสุมทรสงคราม และจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มจังหวัดในเขต
ลุ่มแม่น้าภาคกลาง ผลการวิจัยโดยการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย
ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้าภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาท้าให้รูปแบบการท่องเที่ยว และ
ผลิตภัณฑ์อาหารพบว่า การท่องเที่ยวที่ใช้อาหารเป็นจุดดึงดูดในการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว
ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก และสามารถพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ได้ เรียกว่า
การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มเด็กและ
ครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่น และวัยท้างาน โด ย
กิจกรรมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจัดขึ้นโดยภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง ชุมชน
ภาคเอกชน และภาครัฐ หรือใช้ความร่วมมือในการจัดการร่วมกัน อีกทั้งในส่วนสนับสนุนการท่องเที่ยว
เช่น ที่พัก ร้านอาหารและร้านขายของฝาก สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารร่วมกับแหล่งท่องเที่ยว
โดยให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ร้านขายอาหารใช้วัตถุดิบใน
ท้องถิ่นในการประกอบอาหารให้เป็นเอกลักษณ์ หรือ สถานที่พักมีการประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยว
ที่มาพักถึงกิจกรรมด้านอาหารในท้องถิ่น และจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบพักค้างร่วมกัน เป็นต้น
โดยกิจกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นี้ สามารถใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อน
ทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่ให้เกิดรูปแบบการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สามารถกระตุ้น
เศรษฐกิจชุมชน และสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของชุมชน และประเทศต่อไปได้

References

Chaipaiboonwong, J. (2010). “Creartive
Economy” A Valuableness of
Thai Cultural which more value
than money. Retrieved February 9,
2011, From [http://www.creativethailand.
org/th/articles/article_detail.php?id
=42].
Hall Michael, C. and others. (2003). Food
Tourism Around the World.
management and markets. Oxford:
Butterworth – Heinemann.
Haukeland, J. V. and Jens Kr.Steen
Jacobesen. (2009). Gastronomic in
the Periphery. Food and cuisine as
tourism attractions on the top of
Europe. s.l: s.n.
Kasetsart University. (2011). Eco Tourism
and Sustainable Tourism.
Retrieved February 9, 2011, From
[http://conservation.forest.ku.ac.th/
ecotourdb/Cgibin/ARTICLE/eco2sust
ainable/content13.html]
Ministry of Culture. (2010). “Thai Food”
Cultural Inheritance. Retrieved
February 9, 2010, From
[http://www.creativeculturethailan.
com/detail_page.php?sub_id=3831]
Nakpinich, H. (2011). Thai Cultural, The
Same as the Difference. Retrieved
April 14, 2011, From[http://
board.palungjit.com.html].
Pimonsompong, C. (1988). Travel Around
Thailand. Bangkok: Sarakadee.
Suan Dusit Rajabhat University. (2010).
Unclosed the Legend of Thai
Food. Retrieved September 10,
2010, From [http://www.suandusitcuisine.
com/openingthaiculinary.php].
Suwan, M. (2006). Environmental
Management. Bangkok: Odeonstore.
Suwannawut, N. and others. (2014). For
Quality Magazine. Retrieved
October 5, 2014, From [http://
inside.cm.mahidol.ac.th/bm/index.p
hp/bm-on-stages/159-retromarketing-
1].
Tourism Authority of Thailand. (2009).
TAT.Emphasis A Wonderful Thai
Food from 5 Region to Support
Tourism of Thailand. Retrieved
November 15, 2010, From
[http://www.wikalenda.com/news/
update/.html]
Urry, J. (2002). The Tourism Gaze.
London: Sage.
Wolf, E. (2002) Culinary Tourism. A Tasty
Economic proposition. International
Culinary Tourism Task Force.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

พันธ์เทียน ส., จันทจร ท., & โกเศยะโยธิน ม. (2019). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(3 SUP), 190. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3 SUP.214328