ลายกระหนกกับพัฒนาการ : อดีต – ปัจจุบันด้วยสื่อมัลติมีเดีย

ผู้แต่ง

  • ฟาริดา วิรุฬหผล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214330

คำสำคัญ:

กระหนก, ลายไทย, กนก, พัฒนาการ, มัลติมีเดีย, สามมิติ

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์พัฒนาการลายกระหนกในสมัยรัตนโกสินทร์โดยใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อสังเกตพัฒนาการของลายกระหนกในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1-9วิธีการดาเนินการวิจัยนั้นมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับลายกระหนกและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิด้วยการลงพื้นที่สารวจสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ 11 แห่ง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเลือกลายกระหนกจากฝาผนังของกลุ่มประชากรในการศึกษาซึ่งคือลายกระหนกรัตนโกสินทร์ เครื่องมือในการวิจัยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือในดาเนินการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 4 ชนิดซึ่งใช้ในการสร้างแบบลายกระหนก 3 มิติ และใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะของลายกระหนกต่างยุคต่างสมัย ส่วนเครื่องมืออีกชนิดคือ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่กล้องถ่ายรูปซึ่งใช้ในการลงพื้นที่สารวจ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้การวิเคราะห์ตามกาลเวลา โดยแบ่งยุคของลายกระหนกตามช่วงเวลาของรัชกาลที่ 1 – 9 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลายกระหนกซึ่งเป็นพื้นฐานที่สาคัญของศิลปะไทยนั้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยยุคหินที่มนุษย์ยังทาการขีดเขียนรูปภาพบนฝาผนังถ้าจนกระทั่งพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับการแผ่ขยายอานาจของอินเดีย จีน พุกาม ชวา มอญและ ขอม ทาให้ประเทศไทยในอดีตรับเอางานศิลปะของชาติต่างๆมาผสมผสานขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลายที่ลวดลายกระหนกได้มีแบบแผนที่ตายตัวเป็นแม่แบบลายกระหนกในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ทราบถึงนามของช่างผู้ออกแบบลายเหล่านั้นแต่ความรู้ดังกล่าวก็ได้ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งด้วยการฝึกฝนของศิษย์ซึ่งเรียนจากครูช่างต่อๆกันมา

ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นได้รับเอาแม่แบบลายกระหนกของอยุธยามาใช้ทาให้ลักษณะลวดลายตามโบราณสถานนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีการเรียกชื่อลายต่างๆ อย่างมีแบบแผนเช่นลายประจายามก้ามปู ลายเทพพนม และ ลายก้านต่อดอกในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 นั้นได้มีการติดต่อค้าขายกับจีนทาให้อิทธิพลของจีนได้แผ่มาถึงงานสถาปัตยกรรมของไทยจนเกิดเป็นศิลปะแบบ
“พระราชนิยม” ซึ่งมักใช้กระเบื้องเคลือบดินเผาสีนามาประดับอย่างสวยงามตามหน้าบันด้วยลวดลายแบบจีนต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ชาติตะวันตกได้มีบทบาทสาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การปกครอง หรือแม้แต่ในงานศิลปะ สังเกตได้จากตัวอย่างวัดราชบพิธซึ่งภายในตกแต่งอย่างตะวันตกส่วนภายนอกนั้นตกแต่งแบบไทยเดิม ต่อมาได้มีการตัดทอนรูปร่างลายกระหนกให้เรียบง่ายขึ้นจนกลายเป็นงานร่วมสมัยเช่นในยุคปัจจุบัน

References

[1] สันติ เล็กสุขุม. พัฒนาการของลายไทย: กระหนกกับ เอกลักษณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เมือง
โบราณ; 2553. สันติ เล็กสุขุม. กระหนกในดินแดน
ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. มติชน; 2545.
[2] พระเทวาภินิมมิต. สมุดตาราลายไทย. โรงพิมพ์คุรุ
สภา; 2530.
[3] คณะกรรมการอานวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 50 ปี. ศิลปะรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง; 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

วิรุฬหผล ฟ. (2019). ลายกระหนกกับพัฒนาการ : อดีต – ปัจจุบันด้วยสื่อมัลติมีเดีย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 160. https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214330