สื่อภาพนูน “สัตว์หิมพานต์” เพื่อผู้พิการทางสายตา

ผู้แต่ง

  • จันทนา อินสระ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214333

คำสำคัญ:

ตาบอด, สื่อภาพนูน, สัตว์หิมพานต์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญในการพัฒนาผู้พิการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิและโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 80 (3) ที่กาหนดให้รัฐต้องดาเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมจัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาตินอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และหมวด 2สิทธิและหน้าที่การศึกษา มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษและการศึกษาสาหรับคนพิการนั้น ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวได้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวง ( ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก วันที่ 19 สิงหาคม 2542 หน้า 3 – 4) ดังนั้น ผู้พิการมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ จาเป็นต้องอาศัยการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษตลอดจนสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยทดแทนความบกพร่องของผู้พิการแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมและตรงกับสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงอย่างไรก็ตาม พบว่าในปัจจุบัน สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสาหรับผู้พิการ ยังขาดแคลนสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้พิการได้พัฒนาการเรียนรู้ได้ทัดเทียมกับบุคคลทั่วไป ตลอดจนไม่ทันต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้พิการทั้งในและนอกระบบโรงเรียนตลอดจนการศึกษาตามอัธยาศัยได้เป็นอย่างดี การศึกษายังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทุกสถานที่ดังนั้นสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้พิการจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาสาหรับผู้พิการทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ (ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.2553: ออนไลน์)
ผู้พิการทางสายตา (Blind) จัดเป็นผู้พิการกลุ่มหนึ่งที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นตั้งแต่ระดับตาบอดสนิท หรือตาบอดบางส่วนอาศัยการรับรู้เรื่องต่าง ๆ ทางเสียงและรับรู้รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว และขนาดของวัตถุโดยการใช้ปลายนิ้วสัมผัส ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม มักนิยมใช้สื่อที่มีลักษณะนูนและมีพื้นผิวสัมผัสที่สูงขึ้นมาจากแนวระนาบ เช่น สื่อภาพนูน ( Tactile Texture) หมายถึงเครื่องมือในการสื่อสารในเรื่องที่เราต้องการให้คนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้รับรู้ถึงรูปร่างลักษณะโครงสร้างและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้มีมโนภาพเกิดขึ้นขณะที่ได้จับ คลา และสัมผัส เพื่อนาไปประกอบการสร้างจินตนาการต่อไปอย่างมีหลักการและสื่อภาพนูนต้องช่วยเสริมให้ผู้มีความบกพร่องทางการเห็นมีความเข้าใจในเรื่องนั้นมากขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับคนทั่วไป ( ทองย้อย เชียงทอง, 2531 : 3)
ในปัจจุบันการสร้างสื่อภาพนูนสาหรับผู้พิการทางสายตายังมีจานวนไม่เพียงพอส่วนมากมักจะใช้ประกอบบทเรียน เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ การสร้างสื่อภาพนูนที่นอกเหนือ จากบทเรียนจึงเป็นการสร้างเสริมจินตนาการที่ช่วยเปิดการสัมผัสการรับรู้ที่มีต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจการออกแบบสื่อภาพนูนเพื่อผู้พิการทางสายตา เรื่อง “สัตว์หิมพานต์”(Himmapan Creatures)จึงเป็นการนาเสนอเพื่อให้เกิดสัมผัสรับรู้เรื่องของสัตว์ที่มีปรากฏในวรรณกรรมโบราณจิตรกรรม และสถาปัตยกรรม โดยทั่วไปเรามักพบเห็นภาพสัตว์หิมพานต์จากจิตรกรรมฝาผนังภายในวัด คือตามผนังโบสถ์ วิหาร ซึ่งมีภาพสัตว์หิมพานต์ไว้อยู่ด้วยเสมอ (ส.พลายน้อย, 2532 : 15) ตลอดจนภาพสัตว์หิมพานต์จานวนมากในสมุดไทยโบราณซึ่งหากผู้พิการทางสายตาสนใจในงานศิลปะแขนงนี้ก็จะได้สัมผัสเพียงผ่านคาบรรยายหรืออักษรเบรลล์เท่านั้น การพัฒนาสื่อภาพนูนสาหรับผู้พิการทางสายตาจึงเป็นการขจัดอุปสรรคสาหรับผู้พิการทางสายตาให้มีโอกาสได้สัมผัสสื่อภาพนูนเพื่อสร้างจินต-ภาพเรื่อง “สัตว์หิมพานต์”ได้โดยตรง นอกเหนือจากการได้สัมผัสผ่านอักษรเบรลล์เท่านั้น
ดังนั้น การสืบค้น วิเคราะห์รูปแบบสัตว์หิมพานต์เพื่อนามาศึกษาหาลักษณะที่เหมาะสมโดยนามาใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบสื่อภาพนูนเพื่อผู้พิการทางสายตา จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีให้เกิดศักยภาพในการรับรู้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตาต่อไป

References

[1] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฏ
กระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา
ภาคบังคับ. พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
ลาดพร้าว. (2547).
[2] ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อคนพิการ.
กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. ทองย้อย เชียงทอง.
(2551).
[3] การสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทาง
กายในการเรียนการสอนพลศึกษาสาหรับนักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางการเห็น. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บุญชมศรีสะอาด.
(2543).
[4] การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาสน์
ส.พลายน้อย. ( 2532).
[5] สัตว์หิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ จากัด. สัตว์หิมพานต์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.himmapan.com/thai/ himmapan_creatures.html วันที่สืบค้น 30 กรกฎาคม 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

อินสระ จ. (2019). สื่อภาพนูน “สัตว์หิมพานต์” เพื่อผู้พิการทางสายตา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 170. https://doi.org/10.53848/irdssru.v5i1.214333