การศึกษาวัสดุ และเทคนิคศิลปะการปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • นภดล สังวาลเพ็ชร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i2.214362

คำสำคัญ:

วัสดุ, เทคนิค, ปั้นปูนสด, สกุลช่างเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุและเทคนิคศิลปะการปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี
มุ่งเน้นศึกษาองค์ความรู้ทางด้านวัสดุ และเทคนิคงานปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี เพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาสู่การประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ จากช่างผู้เชี่ยวชาญด้านการปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี จำนวน10 ท่าน เน้นศึกษาถึงการเลือกใช้วัสดุ ความสาคัญของวัสดุ และเอกลักษณ์ด้านเทคนิคของการปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี พบว่าวัสดุที่เลือกใช้เป็นส่วนผสมของปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี ประกอบด้วยวัสดุหลัก คือวัสดุที่จำเป็นต้องมีขาดไม่ได้ และไม่สามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้ ซึ่งได้แก่ ปูนขาว และทราย ส่วนผสมหลัก คือวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสมขาดไม่ได้ แต่สามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้ ซึ่งได้แก่ กระดาษฟาง หรือฟางข้าวแห้ง ทาหน้าที่เป็นเส้นใย น้ำตาลโตนด และกาวหนังสัตว์ ทำหน้าที่
เป็นตัวยึดประสาน ส่วนในด้านเทคนิค พบว่าเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์ในงานปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี คือ ความอสมมาตร ซึ่งเป็นการพลิกแพลงไปตามสติปัญญา และอารมณ์ความรู้สึกของช่างจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่างเพชรบุรี และในปัจจุบันนิยมนาวิธีการลงรักปิดทอง และการประดับด้วยกระจกสี ซึ่งช่างในสาขาประณีตศิลป์เรียกว่า งานปิดทองร่องกระจก มาใช้ร่วมกับงานปั้น นอกจากเป็นส่วนช่วยเสริมให้งานปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้นแล้วยังเป็นการปกป้องให้เนื้อปูนมีอายุยืนนานขึ้นอีกด้วย

References

ทองร่วง เอมโอษฐ์. (2558). ศิลปินแห่งชาติประจาปี
2554 สาขาทัศนศิลป์. สัมภาษณ์, 13
มิถุนายน.
นัททนี เนียมทรัพย์. แนวทางการออกแบบรูปทรง
โดยอิงวัสดุ “Form follows material”.
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ศรี พวงมะลิ. (2556). งานปูนปั้น.
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2558.
จาก http://www.m-culture.go.th/
petchaburi/index.php/องค์ความรู้-3/
องค์ความรู้-ละเอียด/item/งานปูนปั้น.
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล, บรรณาธิการ. (2553). คุณค่าที่
ขายได้. คิด 2, (2) : 5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

สังวาลเพ็ชร น. (2019). การศึกษาวัสดุ และเทคนิคศิลปะการปั้นปูนสดสกุลช่างเพชรบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 4. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i2.214362