การตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของบริษัทจำกัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i2.214372คำสำคัญ:
การใช้บริการสำนักงานบัญชี, การตัดสินใจ เลือกใช้บริการสำ นักงานบัญชี; สำ นักงานบัญชี; บริษัทจำกัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ
ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
และ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดและการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงาน
บัญชีของบริษัทจำกัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย
ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดที่
จดทะเบียนพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน
380 คน โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลอัน
ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในขณะที่สถิติทดสอบที่ใช้คือ สถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า การใช้บริการจัดทำบัญชีเป็นแบบ
รายเดือน และแบบรายปี ซึ่งการเลือกใช้บริการ
สำ นักงานบัญชีของผู้ประกอบการสืบเนื่องจาก
ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านบัญชี ดังนั้นการใช้
บริการสำนักงานบัญชีผู้ประกอบการจะพิจารณาจาก
คุณภาพและความน่าเชื่อถือในการให้บริการจัดทำ
บัญ ชีข อ งสำ นัก ง าน บัญ ชีเ ป็น สำ คัญ ต า ม ที่
ผู้ประกอบการจะเข้าติดต่อเพื่อใช้บริการด้วยตัวเอง
ส่วนอัตราค่าบริการรายเดือนที่จ่ายให้สำนักงานบัญชี
จะอยู่ระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท ขณะเดียวกัน
พนักงาน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ กระบวนการ
ให้บริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้ ช่องทางการ
ให้บริการ ราคา และการส่งเสริมการตลาด เป็นส่วน
ประสมทางการตลาดที่เป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการ
ตัดสินใจเลือกใช้บริการสำ นักงานบัญชีเช่นกัน
นอกจากนี้ การตัดสินใจเลือกใช้บริการของบริษัทจำกัดใน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมี
ความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ข้อเสนอแนะสำนักงานบัญชีควรให้ความสำคัญกับ
ธุรกิจขนาดเล็กเป็นอันดับแรก โดยการมุ่งเน้นการ
พัฒนาให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ตามความต้องการของ
ธุรกิจแต่ละประเภท ผู้ประกอบการจะตัดสินใจเลือกใช้
บริการสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพเป็นสำคัญ ดังนั้น จึง
นำ เสนอกระบวนการทางด้านการตลาด เพื่อให้
ครอบคลุมงานด้านการบริการรับทำบัญชี และเป็นการ
เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดใหญ่ให้มากขึ้น
References
เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัทมหาชนจำกัด.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
ฉัตยาพร เสมอใจ และฐิตินันท์วรีวนิช. (2551).
หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนกร วรกิตติมงค. (2553). พฤติกรรมในการเลือกใช้
บริการสำนักงานบัญชีของผู้ประกอบการ
ใ น เข ต พื้น ที่เท ศ บ า ลน ค รเ ชีย ง ใ ห ม่.
การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(เศรษฐศาสตร์การเมือง) บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยรัตน์ คู่ณรงค์นันทกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจเลือกใช้บริการผู้ทำ บัญชีของ
ผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราในอำ เภอ
หาดใหญ่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ศิลปศา
สตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
เกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปัญญาภรณ์ กงประดิษฐ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจใช้บริการรับทำบัญชีอย่างต่อเนื่อง.
วิท ย า นิพ น ธ์ก า ร บัญ ชีม ห า บัณ ฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555).หลักการตลาด.
กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557).
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 การ
ควบคุมคุณภาพสำหรับสำนักงานที่ให้บริการ
ด้านการตรวจสอบและการสอบทานงบ
การเงินและงานให้ความเชื่อมั่นอื่นตลอดจน
บริการเกี่ยวเนื่อง.[Online].เข้าถึงได้จาก
www.fap.or.th. [2557,ตุลาคม 4]
Addams, H. Lon & Davis, Brain. (1995).
Privately held companies report
reasons for selecting and switching
auditors. CPA Journal. UMI Company.
EkremCengiz. (2007). The effect of marketing
mix on positive word of mouth
communication : evidence from
accounting offices in Turkey.
Innovative Marketing.
Gronroos, Christian. (1990). Service
Management and Marketing :
Managing the Moments of Truth in
Service Competition. Lexington,
Massschusetts : Lexington Books.
Helmkamp, John G., Leroy F. Imdieke and
Ralph E. Smith. (1983). Principles of
Accounting. (2nd.ed.). New York : John
Wiley & Sons,.
Kotler, Philip. (1997). Marketing Management:
analysis, planning, implementation
and control. (9thed.). New Jersey : A
Simon & Schuster Company.
Kotler, Philip and Gary Armstrong. (1996).
Principles of Marketing. (7thed.). N.J. :
Prentice-Hall International, Inc..
Lynch, J. & Schuler, D. (1990). Consumer
evaluation of the quality of hospital
services form an economics of
information perspective. Journal of
health care marketing. 10 (6), 16 - 22.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An
introductory analysis. Second Edition.
New York: Harper and Row, p 258.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว