กระบวนท่ารำนางแปลงในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ : ฉุยฉายศูรปนขา

ผู้แต่ง

  • จินตนา สายทองคำ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214431

คำสำคัญ:

กระบวนท่ารำนางแปลง; ฉุยฉายศูรปนขา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องกระบวนท่ารำนางแปลงในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ : ฉุยฉายศูรปนขา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของนางแปลงในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ และวิเคราะห์กระบวนท่ารำฉุยฉายศูรปนขา โดยเปรียบเทียบกระบวนท่ารำตามรูปแบบการเรียนการสอนกับกระบวนท่ารำตามรูปแบบการแสดง ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย การรับถ่ายทอดท่ารำ การชมวีดิทัศน์การแสดง การประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่าบทบาทและความสำคัญของนางแปลงในการดำเนินเรื่องรามเกียรติ์ มี 3 นาง คือ 1) นางศูรปนขาหรือนางสำมนักขา มีบทบาท ในตอนต้นเรื่องอันเป็นเหตุสู่สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ 2) นางเบญกาย มีบทบาทในทางกลศึกของทศกัณฐ์ 3) นางอดูลปีศาจ เหตุแห่งความบาดหมางของพระรามกับนางสีดาในตอนท้ายของเรื่องรามเกียรติ์
ฉุยฉายศูรปนขาจัดเป็นการรำชั้นสูงเชิงอวดฝีมือที่สืบทอดมาจากละครวังสวนกุหลาบ กระบวนท่ารำตามบทร้องเพลงฉุยฉายพบว่ามีท่ารำ ตามคำร้องจำนวน 31 ท่า ในลีลาที่มีลักษณะการนวยนาดผู้รำต้องใส่จริตกิริยาแสดงอาการความพึงพอใจทางใบหน้าและแววตา เพลงแม่ศรีมีท่ารำตามคำร้องจำนวน 25ท่ารำในลีลาท่ารำสะบัดสะบิ้ง อาการเสแสร้ง อาการเล่นตัวของหญิง ใบหน้ายิ้มระรื่น ดวงตามีเลศนัย
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนท่ารำตามรูปแบบการเรียนการสอนกับรูปแบบการแสดง พบว่าท่ารำในรูปแบบการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นการตีบทตามคำร้องตรง ๆ ส่วนในการแสดงใช้การตีบทโดย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม

References

จิรัชญา บุรวัฒน์. (2551). หลักการแสดงของนาง ศูรปนขาในละครดึกดำบรรพ์ เรื่องรามเกียรติ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิตพัฒนศิลป์, สถาบัน. (2555). พิธีพระราชทานปริญญาบัตร สถาบันบัณฑิตพัฒศิลป์. กรุงเทพมหานคร :สถาบันบัณฑิตพัฒศิลป์.
พัชราวรรณ ทับเกตุ. (2544). หลักการแสดงของนางเกศสุริยงแปลงในละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต).กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬรักษ์.(2543).นาฏยศิลป์ปริทรรศน์.กรุงเทพมหานคร : หสน. ห้องภาพสุวรรณ.
Translated in Thai References
Bunditpatanasilpa Institute. (2012). Graduation Ceremony, Institute of Arts. Bangkok: Institute of Art Development
Burawat, J. (2008). The Acting Principle on Soorapanakha in the Ramayana Drama (Master Thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Tabkate, P. (2001). The Acting Principle on Katesuriyong in the Golden Swan Drama. (Master's thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Wirulrak, S. (2000). Dance Periscope. Bangkok: ROP. Papsuwan room.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

สายทองคำ จ. (2019). กระบวนท่ารำนางแปลงในการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ : ฉุยฉายศูรปนขา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 21. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214431