นาฏยประดิษฐ์ลงสรงโทนสุหรานากง : นาฏยจารีตแบบหลวง

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ คงถาวร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214433

คำสำคัญ:

นาฏยประดิษฐ์; นาฏยจารีตแบบหลวง; รำลงสรงโทน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากระบวนท่ารำลงสรงโทน ในการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนา ของกรมศิลปากร นำมาวิเคราะห์ และประดิษฐ์เป็นท่ารำ ชุด รำลงสรงโทนสุหรานากง เพื่อใช้เป็นชุดการแสดงเผยแพร่ในลักษณะนาฏยจารีตแบบหลวง และใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ งานนาฏศิลป์ไทยที่คงไว้ซึ่งนาฏยจารีต อย่างเต็มรูปแบบ จากการศึกษาพบว่าการรำลงสรงโทนเป็นการรำเพื่ออวดฝีมือของผู้แสดง ในการรำประกอบกิริยาท่าทางการอาบน้ำแต่งตัว โดยใช้ทำนองเพลง ลงสรงโทน ลักษณะท่ารำประกอบด้วยการรำตีบทตามความหมายของบทร้อง การสื่อให้เห็นถึงกิริยาอาการตามบทร้อง และการรำในช่วงทำนองเพลงที่มีทำนองเอื้อน จำนวนมาก
การรำลงสรงโทน เกิดจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาฮินดู ในเรื่องความสำคัญของน้ำโดยการใช้น้ำชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเพื่อความเป็นสิริมงคล แม้ในพระราชพิธีที่สำคัญต่างๆ ก็พบว่ามีการสรงน้ำปรากฏความเชื่อดังกล่าวได้ถ่ายทอดมาสู่วรรณกรรมและปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงโดยลำดับ
ขั้นตอนในการสร้างสรรค์งานนาฏยประดิษฐ์ลงสรงโทนสุหรานากงประกอบด้วย 1.การคิดท่ารำออกในเพลงต้นเข้าม่านโดยใช้ท่าเดิมตามที่บรมครูประดิษฐ์ไว้ 2.การคิดท่ารำในบทร้องเพลงลงสรงโทนประกอบด้วยท่าหลัก ท่าขยาย ท่าเชื่อมและท่ารับ 3.การคิดท่ารำเข้าในเพลงสุ่มบอริยันซึ่งเป็นการรำประกอบการทรงม้า เน้นการเล่นเท้าตามจังหวะเพลง 4.การคิดรูปแบบการใช้พื้นที่บนเวทีโดยการเดินขึ้นหน้าและถอยหลัง การเดินเป็นเส้นเฉียง และการเคลื่อนที่เป็นเลขแปดแนวนอน
นาฏยประดิษฐ์ลงสรงโทนสุหรานากงได้สร้างขึ้น ตามแนวนาฏยจารีตแบบหลวง ซึ่งเป็นแบบแผนละครในที่รุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 2 และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน จึงควรค่าแก่การนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

References

วรรณพินี สุขสม. (2545). ลงสรงโทน:กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ทัดติ. (2540). จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนของตัวทศกัณฐ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุมานราชธน, พระยา. (ม.ป.ป.). ประเพณีไทยเกี่ยวกับ เทศกาลสงกรานต์. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
Translated in Thai References
Anuman-Rajadhon, Lord. (MPP). The Tradition about Thai Songkran Festival. Bangkok: Department of Religious Affairs.
S. Thadti. (1997). Conservative Training and the Pantomime of Ravana. (Master's thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
W. Suksom. (2002). Long Song Tone: Dance postures in. Staging the Adonis (Master's thesis) .Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

คงถาวร ข. (2019). นาฏยประดิษฐ์ลงสรงโทนสุหรานากง : นาฏยจารีตแบบหลวง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 32. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214433