การพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214436คำสำคัญ:
องค์การสมรรถนะสูง; การพัฒนา; ตัวแบบ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการบริหารทุนมนุษย์ 2) เพื่อถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารประสบความสำเร็จ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง และ4) เพื่อถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง
ประชากรการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,853 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ 3 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการบริหารทุนมนุษย์ พบว่าอยู่ในระดับมาก
2) ผลการถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ พบว่ามีกระบวนการบริหารที่ประสบความสำเร็จ 4 ขั้นตอน มีเทคนิคการบริหารที่ประสบความสำเร็จโดยยึดหลักการธรรมาภิบาล 10 ประการ
3) ผลการพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 3 ปัจจัย ประกอบด้วย กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
4) ผลการถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้หลังการฝึกอบรมถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูงทั้ง 3 ตัวแบบ อยู่ในระดับมาก
References
Juito, S. (1998) Vision and Strategy for Higher Education Administrators: Case Study of High Echelon Administrators. Doctoral thesis, Chulalongkorn University
Juito, S. (2009) Systematic Training by New Learning Theory. Textbook Writing Promotio Project, Press Office, Sukhothai Thammathirat Open University.
Juito, S. (2010) New Paradigm of Human Capital Management, Textbook Writing Juito, S. (2011) Competency Development for Local Government Organization Personnel, Office of the National Research Council of Thailand.
Juito, S. (2013) Triple H Organization: New Administration Model to Local Government Organization Excellence, Textbook Writing Promotion Project, Office of Academic Affairs, Sukhothai Thammathirat Open University.
Juito, S. (2014) New Dimension of Good Governance Administration at Local Government Organization: Theory and Research, Textbook Writing Promotion Project, Press Office, Sukhothai Thammathirat Open University.
Juito, S. and Kiatwacharachai, K. (2011) Good Governance Model to Local Government Organization Excellence. Academic Research Promotion Project,
Khamnuansilp, P. and Wongthanawasu, S. (2003) Research on Administration Capability Development for Subdistrict Administration Organization in the Northeast Region, Khon Kaen: Phrathamakhan Press.
Lahti, R.K. (1999) Identifying and integrating individual level and organizational level core competencies. Journal of Business and Psychology, 14, (1), 59-75.
Nuangnoraj, M. (2002) Desired Characteristics of Local Government Organization Administrators in the Opinions of Rayong Provincial Administration Organization’s Officials and Employees, Master of Public Administration, Study Area: Public Policy, Burapha University.
Osborne, David and Gaebler, Ted. (1992) Reinventing Government. New York: Addison- Wesley Publishing Company.
Prommapun, B. and Juito, S. (2007) Sub district Government Organization Model for Strategy Focused Organization through Application of Balanced Scorecard. Office of the National Research Council of Thailand
Prommapun, B. and Juito, S. et al. (2002) Personnel Administration Indicators for Local Government Organization. Office of the Standards for Local Personnel Administration Council, Ministry of Interior. Promotion Project, Press Office, Sukhothai Thammathirat Open University.
Rasameechot, S. (2005), Guidelines for Human Competency by Competency Base Learning. Bangkok: Siri Watana Interprint.
Ratanakosin Fund, Sukhothai Thammathirat Open University.
Shermon, Ganesh (2004) Competency Based HRM New York : McGraw-Hill.
Sombunprasert, P. (2005) Required Competencies for Subdistrict Agricultural Extension Officer. Master thesis for Agriculture, Study Area: Agricultural Extension, School of Agricultural Extension and Cooperative, Sukhothai Thammathirat Open University.
Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competency at work, models for superior performance. New York : John Wiley & Sons, Inc.
Thailand 2551-2554, retrieved on November 15, 2551 from www.opdc.go.th/index.php
Tharnthasanawong, P. et al. (2005) Guidelines for Curriculum Development to Increase Administrators Competency on Information and Communication Technology. Bangkok: Civil Service Development Institute, Office of Civil Service Council, Office of Civil Service Commission.
Thongkhao, K. and Juito, S. et al. (2002) Research and Skills Development for Subdistrict Administration’s Social Development. Office of the National Research Council of Thailand.
Wanitthanom, R. (2007) Competencies in Yesterday, Today and Tomorrow in Essence of the New Civil Service Act Improvement, p. 66-75, Bangkok: Office of Civil Service Commission.
Wijitraitham, P. (2007) Models for Competencies Development: Case Study of Prathum Thani Provincial Station. Master thesis for Public Administration, Study Area: Public Administration, School of Management Science, Sukhothai Thammathirat Open University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว