วิถีคนเมืองกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214440คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, ทัศนคติ, กิจกรรมและการประยุกต์ใช้; หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง; คนเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้สำรวจความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์พฤติกรรมและระดับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน และศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 392 ตัวอย่างโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนเมืองที่ประชาชนเคารพนับถืออีก 26 ชุมชนเมือง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในชุมชนเมืองส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายที่ต้องคำนึงถึงความจำเป็นต่อการดำรงชีพและไม่สุรุ่ยสุร่าย การกระทำกิจกรรมร่วมในชุมชนหรือสังคม ไม่ควรเอาเปรียบผู้อื่นและเพื่อนร่วมงาน การรู้จักประหยัด มัธยัสถ์เป็นหลักพื้นฐานสำคัญของความพอประมาณ ส่วนการปฏิบัติในกิจกรรมในระดับบุคคลและครัวเรือนชี้ได้ว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการประหยัด เช่นการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเสมอเมื่อออกจากบ้านหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขณะที่ในด้านการดำรงชีวิต ประชาชนให้ความสำคัญกับ การประกอบอาชีพของตนและสมาชิกในครอบครัวเป็นอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักพอประมาณไม่ลงทุนเกินตัว การยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ส่วนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยกับด้านจิตใจกับคำว่า “พอ” ที่เป็นการพัฒนาตนเอง ไม่เบียดเบียนและพึงพอใจในชีวิตที่พอเพียง จะประยุกต์ใช้กับตนและสมาชิกในครอบครัว เช่น ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักธรรมทางศาสนาอยู่เสมอ แต่ในระดับชุมชนยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่จะมีการดำรงชีวิตด้วยการปรับตัวเองและครอบครัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีแนวทางในการดำรงชีวิตที่มีความสุข คือ การที่ผู้นำครอบครัวและสมาชิกยึดมั่นในการประกอบอาชีพสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักพอประมาณ ไม่ลงทุนเกินตัว แม้จะลำบากก็ต้องยึดหลักความพอเพียง ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาและใช้ชีวิตอย่างมีสติ สมาธิ ปัญญา และเดินทางสายกลาง
References
Chaipatana Foundation. (2007).Sufficiency Economy and New Theories. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.
Phukamchanoad, P. (2012). The Application of Sufficiency Economy Philosophy for individuals and families Level of Residences in Dusit District, Bangkok. Research work of Suan Sunandha Rajabhat University.
Phukamchanoad, P. (2010) Types of Political Participation of People in Dusit Area, Bangkok. Research work of Suan Sunandha Rajabhat University.
Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3 rd ed., Tokyo: Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว