กลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการค้าชายแดน ประเทศไทย – มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ภฤศญา ปิยนุสรณ์
  • พรชัย เทพปัญญา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214455

คำสำคัญ:

โลจิสติกส์; ต้นทุน; การค้าชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ 1. เพื่อศึกษาบริบทการค้าชายแดน 2.เพื่อศึกษากลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการค้าชายแดนประเทศไทย-มาเลเซียการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูล 17 รายต่อกลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการค้าชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบจากการค้าชายแดนส่วนใหญ่เกิดจากการกีดกันทางการค้าและการสงวนอาชีพให้กับคนในประเทศ ปัญหาที่เกิดจากการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทยมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยจำกัดสินค้าอยู่ในประเภทเน่าเสียง่าย (perishable goods) และยินยอมให้ประเทศไทยขนส่งผ่านได้เพียง 30,000 ตันต่อปีโดยไม่ต้องเสียภาษี ปัญหารถบรรทุก 2 ทะเบียน เกิดจากการที่มาเลเซียไม่ยอมให้รถบรรทุกสินค้าของไทยเข้าไปส่งสินค้าในมาเลเซีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนอาชีพให้กับชาวมาเลเซีย ทำให้รถบรรทุกของทั้ง 2 ประเทศต้องส่งสินค้าที่ด่านพรมแดน ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง จึงมีรถบรรทุกส่วนหนึ่งจดทะเบียนทั้ง 2 ประเทศ คือทั้งทะเบียนรถไทยและรถมาเลเซีย ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังมาเลเซีย เช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล มาเลเซียกำหนดให้องค์การข้าวแห่งชาติ Burnasเป็นผู้นำเข้าข้าวทั้งในรูปแบบรัฐต่อรัฐ และจากเอกชนในต่างประเทศเป็นการผูกขาด ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศมาเลเซียสูง ก่อให้เกิดการลักลอบการนำเข้าข้าวบริเวณชายแดน ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีมูลค่าสูงกว่าประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศเนื่องจากมีการเร่งใช้จ่าย โครงสร้างต้นทุนของโลจิสติกส์ องค์ประกอบใหญ่ที่สุดคือ ต้นทุนค่าขนส่ง รองลงมาคือ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์จากความสำคัญของต้นทุน โลจิสติกส์และสถานการณ์การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ผู้วิจัยเลือกศึกษาด่านศุลกากรสะเดา จังหวัดสงขลา โดยการสัมภาษณ์นายด่านศุลกากร หอการค้าจังหวัดสงขลา เนื่องจากมีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดทิศทางการพัฒนาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทยจะได้เปรียบในกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์อิเลคโทรนิค และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารสำเร็จรูป สินค้าเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าที่ส่งออกตามแนวชายแดนที่มีมีมูลค่าสูง ดังนั้นกลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการค้าชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย ภาครัฐ ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านเงินทุนและบุคลากรเพื่อให้การค้าชายแดนระหว่างไทย มาเลเซียเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น เอกชนควรร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ค้าชายแดนไทย มาเลเซีย ในด้านต่างๆเช่น ร่วมมือพัฒนาคุณภาพของบุคลากรเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรมีข้อระเบียบการบังคับการขนส่งควรระบุสิทธิประโยชน์เท่ากันระหว่างไทยและมาเลเซียเพื่อลดปัจจัยความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ ควรมีสถานบรรจุและแยกสินค้ากล่องฝั่งประเทศไทยเขตพื้นที่ชายแดนไทย มาเลเซีย ควรมีการจับกุมรถซ้อนทะเบียนป้ายไทย มาเลเซีย ด่านชายแดนควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขยายด่านลดความแออัด คับแคบ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการระบายสินค้า กฎหมายมาเลเซียมีความเข้มงวดมากกว่าไทยทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของมาเลเซียต่ำกว่าต้นทุนของประเทศไทย ควรมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการคัดกรองคนเข้าเมือง เพื่อตรวจสอบผู้ก่อการร้าย เช่น ระบบบริการแบบหน้าต่างเดียว (Single Windows) ภาครัฐควรจัดโครงข่ายเชื่อมโยงประตูการค้า เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ เป็นต้น ควรยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ที่เห็นว่ามีความปลอดภัย เช่น ชายแดนด้านมาเลเซียเพื่อลดต้นทุนทางเวลา เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออกต้องปราศจากการคอรัปชั่น กระบวนการทำงานของหน่วยงาน ทื่เกี่ยวกับกับการค้าชายแดนต้องเป็นไปในแบบ One Stop Service ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงถนนหรือการก่อสร้างเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ควรทำวิจัยตลาดในประเทศมาเลเซียก่อนการส่งเสริมให้ SMEs ไปลงทุน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริง และเป็นการลดความเสี่ยงด้านการลงทุน ควรจัดทำตารางเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรของไทยและเพื่อนบ้าน เพื่อให้เห็นว่าไทยสามารถแข่งขันได้ในสินค้าใดบ้าง ภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณและบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับระบบ National Single Windowผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการเงินการบัญชีสหกรณ์ของอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงทั้งด้านการเงิน ด้านธุรกิจ รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ รัฐบาลควรปรับยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างระบบราชการให้บริหารงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม ICT เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้มงวดรถทะเบียนสองป้ายของประเทศมาเลเซีย เพราะเป็นการเสียเปรียบของประเทศไทย โดยกำหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน ควรพัฒนาด่านชายแดน เปิดจุดผ่อนปรนทางการค้าให้ถูกกฎหมาย

References

กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และจิตติชัย รุจนกนกนาฏ. (2554). โครงการผลกระทบของการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าตามข้อตกลงประชาคมอาเซียนที่มีต่อขนส่งสินค้าข้ามแดนและการค้าผ่านแดน.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2548).การค้าชายแดนกับเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ มาเลเซีย พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา.กรุงเทพฯ
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ. (2556). การค้าชายแดนไทย.สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สุมาลี สุขตานนท์. (2546). การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. สถาบันขนส่ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โสภารัตน์ จารุสมบัติและคณะ. (2550).โครงการการศึกษาสถานภาพความรู้เกี่ยวกับอาณาบริเวณชายแดนประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน:ระยะที่2(ชายแดนไทย-มาเลเซีย).กรุงเทพฯ
Translated in Thai References
Chiwatakulpong, K. and Rujanakanoknaj, C. (2011). The effect of improving the facilities of trade agreements with the ASEAN transport. Its cross-border trade and transit.
Jarusombat, S. and faculty. (2007). The Educational Status of Knowledge about the Area. Thailand Borders with Neighboring Countries: Phase 2. (Frontier Thailand - Malaysia). Bangkok.
Sooktanont, S. (2546). The Border Trade Between Thailand and Neighboring Countries of Transit. Chulalongkorn University
The Bank of Thailand (2005). The Five Border Trade with Neighboring Countries, Malaysia, Myanmar, Laos, Cambodia, Southern China. Bangkok.
The Public Information Strategy. (2013). Thailand border trade. The Office for National Statistics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

ปิยนุสรณ์ ภ., & เทพปัญญา พ. (2019). กลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการค้าชายแดน ประเทศไทย – มาเลเซีย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 86. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214455