ปัจจัยพื้นฐานทางการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวไทยต่อพระราชวังบางปะอิน

ผู้แต่ง

  • พงศธร โกมลทัต

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214459

คำสำคัญ:

ปัจจัยพื้นฐาน, พฤติกรรม; การท่องเที่ยว; นักท่องเที่ยวชาวไทย; พระราชวังบางปะอิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาเที่ยวชม พระราชวัง บางปะอิน จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่พระราชวังบางปะอิน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าชมภายในพระราชวังบางปะอินจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์เชิงตัวแปรเชิงกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ใช้วิธี Lest Significant Difference (LSD) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และ สถิติ ไคสแควร์ ใช้กำหนดนัยสำคัญของการทดสอบสมมติฐานไว้ที่ระดับ 0.5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31-40 ปี มี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปวช. ประกอบอาชีพลูกจ้างพนักงานเอกชน และมีรายในอยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาทสำหรับการทดสอบสมมติฐานปรากฏผลดังนี้
1. นักท่องเที่ยวมีเพศที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านช่วงเวลาในการเข้าชม และด้านบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
2. นักท่องเที่ยวที่มีอายุที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวัตถุประสงค์ของการมาท่องเที่ยว การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจุดสนใจในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาเข้าชม และบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวไม่ต่างกัน
3. นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในจุดสนใจในการท่องเที่ยว การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจุดสนใจในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาเข้าชม และบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวไม่ต่างกัน
4. นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน ช่วงเวลาในการเข้าชม การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม และบุคคลที่ร่วมเดินทาง ส่วนในด้านวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว จุดสนใจในการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว และแนวโน้มในการเดินทางมาท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน
5. นักท่องเที่ยวที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงด้านเดียว คือ จุดสนใจในการท่องเที่ยว ส่วนอื่นๆ คือ วัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาในการเข้าชม

การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม บุคคลที่ร่วมเดินทาง และแนวโน้มในการเดินทางมาท่องเที่ยว ไม่แตกต่างกัน
6. ปัจจัยภายในโดยรวม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในพระราชวังบางปะอิน ในด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยว และในด้านแนวโน้มในการกลับท่องเที่ยวซ้ำอีกในอนาคต
7. ปัจจัยภายนอกโดยรวม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในพระราชวังบางปะอิน ในด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยว และแนวโน้มในการกลับท่องเที่ยวซ้ำอีกในอนาคต

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6 ). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บุณณนิดา โสดา. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอิสระชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประมุข แก้วเนียม. (2530). รายงานสัมมนาทางวิชาการเรื่องบทบาท ของภูมิศาสตร์กับการพัฒนาการท่องเที่ยว. โดยสมาคม ภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวิทยาลัยครูกาญจนบุรี ณ โรงแรมริเวอร์แคว กาญจนบุรี
ศรีประภา ชัยวรวัฒน์. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะช้าง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : พัฒนานักศึกษา
สุชญา วัชราภิรักษ์. (2546). การเปิดรับข่าวสารจากสื่อ ประชาสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2546). การบริหารการตลาด กลยุทธ์และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Translated in Thai References
Chaiworawat, S. (2002). Factors that influence the behavior of tourists from Thailand Ecotourism in national parks Koh Chang. Master of Business Administration (Program in Management) Srinakharinwirot University.
Jaturongkakul, A. (2003). Marketing management strategics and logistics. Bangkok: Thammasat University.
Keawniam, P. (1987). Report seminar on the role of geography and tourism development. National Geographic Society Together with Teachers College Kanchanaburi at the River Kwai hotel Kanchanaburi.
Pimolsompon, C. (1999). Tourismplanning and Marketing development.(1st ed.). Bangkok: Kasetsart University
Sereerat, S. (2001). Consumer Behavior. (3rd ed). Bangkok: AR Business Place.
Soda, B. (2001). Factors influencing the selection of tourist attractions independent foreign tourists in Thailand. Master 's degree in Economics (General Management) The Faculty of Economics Chulalongkorn University
Wanitbancha, K. (2003). Statistical analysis Statistics for the management, administration and research. (6th ed ). Bangkok: Chulalongkorn University
Watcharapirak, S. (2003). Exposure to media Information on travel behavior Vimanmaek .Dusit Palace. Master of Public Administration (Program in Management) Burapha University.
Wiwattanaporn, A. (2003). Factors that influence the travel habits of tourists in Ratchaburi, Thailand.Master of Business Administration (Program in Management) Srinakharinwirot University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

โกมลทัต พ. (2019). ปัจจัยพื้นฐานทางการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวไทยต่อพระราชวังบางปะอิน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 95. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214459