ปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการ พฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • รฐา นาราสุรโชติ
  • วิไลลักษณ์ เผือกพิพัฒน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214462

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการ ,พฤติกรรมการซื้อ; ความจงรักภักดี; ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น; สมุทรปราการ; ชลบุรี

บทคัดย่อ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนทั้งชายและหญิงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี ที่เคยซื้อสินค้าในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-Eleven) จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการจะมีจำนวนเงินเฉลี่ยที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้งเท่ากับ 149.67 บาท ผู้ใช้บริการจะมาซื้อสินค้าต่อสัปดาห์เฉลี่ย 5.96 ครั้ง ประเภทของสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อส่วนใหญ่ คือ สินค้าและเครื่องดื่มประเภท fast food ผู้บริโภคจะใช้บริการสาขาที่อยู่ใกล้กับสถานที่อาศัย (บ้าน) มากที่สุด ช่วงเวลาในการใช้บริการส่วนใหญ่ คือ ช่วงเวลา 18.01- 00.00 น. และบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจในการซื้อสินค้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่น คือ ตนเอง พฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นด้านการตลาดเชิงบูรณาการมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 สำหรับความจงรักภักดีผู้บริโภคมีระดับการรับรู้ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมีชื่อเสียง มีความไว้วางใจในการใช้บริการร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และ4.25 ตามลำดับ การวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ในด้านจำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อสินค้า และด้านจำนวนครั้งที่ซื้อสินค้า พบว่าอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในด้านจำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อสินค้า และจำนวนครั้งที่ซื้อสินค้าแตกต่างกัน สำหรับปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการด้านการจัดร้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ด้านจำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อสินค้า แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับ จำนวนครั้งที่มาซื้อสินค้า ส่วนปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการด้านการโฆษณา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ด้านจำนวนครั้งที่มาซื้อสินค้าแต่ไม่มีความ สัมพันธ์ กับ จำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อสินค้า

References

กัญชพร ศรมณี. (2555). เปรียบเทียบพฤติกรรม การเลือกซื้อสินค้าร้านสะดวกซื้อเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2545). การใช้โปรแกรม SPSS For Wondidows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นวันที่ 8 มกราคม 2558. จาก: http://www2.moc.go.th/
แคทรียา ชาบุญมี. (2547). การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร (Integrated Marketing Communication) ที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของ วัน-ทู-คอล ในทัศนะของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร, (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
บริษัท ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน). (2557)แบบรายงานข้อมูลประจำปี 2557 บริษัทซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน). สืบค้น วันที่ 2 เมษายน 2558, จาก https://www.cpall.co.th//Corporate/about-cp-all
ผู้จัดการออนไลน์. (2557, 17 มีนาคม). ถอดกลยุทธ์ 7-11 ทำร้านสะดวกซื้ออย่างไรให้รวยยั่งยืน.ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/
ViewNews.aspx?NewsID=9570000027724
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัย,การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพมหานคร : Diamond In Business World. เศรษฐกิจตกกระทบสินค้า FMCG ร่วง. (2558, 6 เมษายน). Positioning. สืบค้น 8 มิถุนายน 2558. จากhttp://www.positioningmag.com/
content/60016
Blackwell, R., Miniard, P. & Engel, J. (2012). Consumer Behavior: Singapore: CENGAGE Learning. Boston: McGraw- Hill/Irwin.
Cohen. L and Manion Lawrence. (2007). Research Method in Education. 6th. Ed. London : Routledge
Eriksson, P.& Kovalainen, A. (2008). Qualitative Methods in Business Research. Great Britain: Sage.
Kotler, Philip, Marketing Management,14thEd. Pearson Education Inc., 2011.
Kotler, Philip, and Amstrong, Gray, Principles of Marketing, 13thEd, Prentice-Hall, Inc, 2008.
Schiffman, L. &Kanuk, L. (2007). Consumer Behavior: NJ : Pearson Prentice Hall.
Translated in Thai References
Chaboonmee, K. (2004). The Integrated Marketing Communications (Integrated Marketing Communication) that Affects the Image of the Day - - Call the Viewpoint of the Consumer. Bangkok, (Master's thesis), Bangkok, Srinakharinwirot University.
CP Seven Eleven Public Company Limited (Thailand). (2014) Report Annual data 2557 CP Seven Eleven Public Company Limited. Retrieved on April 2. 2558, from https: // www. cpall.co.th/Corporate/
about-cp-all.
Economic Impact FMCG Fall (2015, April 6). Positioning. Search 8 June 2015. From http://www.positioningmag.com/content/60016.
Manager Online. (2014, March 17). Remove the Strategy 7-11 Convenience Store to Do What the Rich Sustainable. Manager. Retrieved on April 10, 2015, from http://www.manager.co.th/iBiz Channel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027724.
Serirat, S., Laksitanon, P. and Serirat, S. (2009). The New Marketing Era. Bangkok: Development Studies.
Serirat, S. (2007). Consumer Behavior. Bangkok: Diamond In Business World.
Sornmani, G. (2012). Comparison of the Shopping Behavior in Convenience Store in Bangkok, Bangkok, Punyapiwat Institute of Management Issue.
Ketusingh, W. (2000). Guide to Research, Practical Research. Bangkok, Charoenphon Publisher.
Wanichbuncha, K. (2002). Using SPSS For Windows for Data Analysis. Ministry of Commerce. Retrieved on January 8th 2558. From: http://www2.moc.go.th/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

นาราสุรโชติ ร., เผือกพิพัฒน์ ว., & ผังนิรันดร ผ. ด. (2019). ปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการ พฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 107. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214462