การพัฒนาระบบการสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • เอกภพ อินทรภู่
  • ไพฑูรย์ ศรีฟ้า

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214481

คำสำคัญ:

ระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ; การเรียนรู้ผสมผสาน; การพัฒนาระบบการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์ระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อพัฒนาระบบสร้างสรรค์ความรู้ ผ่านเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาที่เรียนจากระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากการเรียนรู้ด้วยระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญ คือ อาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ด้านจัดการเรียนการสอนรายวิชานี้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) นักศึกษา คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชานี้ จำนวน 129 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ คือ อาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ด้านจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา จำนวน 17 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ความเห็นด้านระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ จำนวน 3 รอบ ด้วยเทคนิคเดลฟาย และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า ระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกอบด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ออฟไลน์ มีการสอนในชั้นเรียนปกติ การสอนชี้แนะการปฏิบัติงาน การให้คำแนะนำปรึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ มีการเรียนรู้จากบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง การเรียนรู้จากการมอบหมายงาน การเรียนรู้จากชุมชน และมีกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การดำเนินงาน การวัดและประเมินผล และการปรับปรุงการสอน นำมาพัฒนาบทเรียนตามระบบสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บ ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ ใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการทดลองพบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ คือ (E1/E2) เท่ากับ 89.14/82.36 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

Allen, Elaine and Seaman, Jeff. (2010). Learning on Demand: Online Education in the United States, U.S.A : Sloan Consortium.
Alvarez, S. (2005). “Blended Learning Solutions.” In B. Hoffman (Ed.), Encyclopedia of Education Technology.**[Online] 2005. [Cited 2008, December 11]. Available from : URL :http//: coe.sdsu.edu/eet/artcles/
blendedlearning/start.htm
Bersin, J. (2004). The blended learning book: Best practices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco, CA: John Wiley & Sons, Inc.
Bersin and Associates.(2003). Blended Learning What works? Retrieved from http: coe.sdsu.edu/eet/admin/nav.htm
Chaiwat, j. and Panita, W. (2012). The Development of the Conceptual Frameworks Using Social Media for Supporting Projectbased Learning with Listen Learn for Improving a Problem Solving Skill of Undergaduates. Retrieved November 25, 2012.From http://actech.agritech.doae.go.th/research/Online.pdf
Davidson Shivers, G.V. & Rasmussen, K.L. (2006). Web-Board Learning: Design, Implementation, and Evaluation. New Jersey: Pearson, Merrill Prentiss Hall.
Duke Daniel Linden. (1990). Teaching An Introduction. New York :McGraw-Hill.
Duke,Danial L. (1990). Adult Language Learning styles and Strategies in intensive training setting, Modern Language Journal, no.74 (pp.311-328) An Introduction. New York: Mcgraw-Hill, Ehrman,Madelineandrebecca Oxford.
Graham, L. (2002). Basic of Design: Layout and Typography for Beginners. New York :Delma, Thomson Learning inc.
Garnham, Carla and Kaleta, Robert. (2008). “Introduction to Hybrid Courses”. Teaching With Technology Today. [Online] 2002. [Cited 2008, July 10]. Available from : URL: http://www.uwsa.edu/
ttt/articles/garnham.htm
Graham M. and Scaborough H. (1999). “Computer mediated communication and collaborative learning in an undergraduate distance education environment”. Australian Journal of Educational Technology. 15(1999) : 20-46.
Gerlach, Vernon S. & Donald P. Ely. (1980). Teaching & Media: A Systematic Approach. Second edition. (Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1980)
Graham, C. R. (2005). Blended learning systems: Definition, current trends, and future directions. In C. J. Bonk & C. R. Graham (Eds.). Handbook of blended learning: Global perspectives, local designs (pp. 3-21). San Francisco, CA: Pfeiffer Publishing.
Jintawee, Klaisang, (2011). Principles of Web Design in Education. Retrieved November 25, 2011. From http://support.thaicyberu.go.th/research/
tcu_website.pdf
Kalaya Dengsamae, (2004). A Comparison of English Reading Comprehension Achievement Using Cooperative Integrated Reading and Composition Method and Teacher’s Manual Method for Mathayomsuksa Four Students.Independent Study (M.A. English), NaresuanUniversity, 2004.
Palloff,R. and Pratt, K. (2001). Lessons from the cyberspace classroom: Therealities of online teaching. San Francisco: Jossey-Bass
Pichai, Tongdeelert. (2006). A Proposed Collaborative Learning Model on Computer Network-based Learning for Undergraduate Students with Different Learning Styles. Chulalongkorn University. Ph.D. Education (Educational Communications and Technology)
Prachit, Intaganok. (2001). A Comparison of Instruction Through Internet with and without Informing Surfing Pathsupon Learning Achievement of Upper Secondary School Stucents with Different Learningstyles. Chulalongkorn University. Master. Education (Educational Communications and Technology)
Rovai, A. P. and Jorden, H. M.(2004). Blended learning and sense of community: a comparative analysis with traditional and fully online graduate courses. Int. Rev. Res. Open Dist. Learn.
Tisana, Khamman. (2000). Development and Using Instructional Systems. Faculty of Education Chulalongkorn University.
Thomson and NETg.(2003). The next generation of corporate learning: achieving the right blend. Retrieved November 25, 2014.from http://www.netg.com/NewsAndEvents /PressReleases/ view.aspPressID=75=top
Zhao, Y. (1998). Design for adoption: the development of an intergrated web-base education environment. JRCMST.17 (November-December)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

อินทรภู่ เ., & ศรีฟ้า ไ. (2019). การพัฒนาระบบการสร้างสรรค์ความรู้ผ่านเว็บสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 161. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214481