สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นพภัสสร บุญมาก
  • ฤๅเดช เกิดวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214483

คำสำคัญ:

สมรรถนะการบริหารของผู้บริหาร; พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับพฤติกรรม การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2556 จำนวน 205 โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามโรงเรียนละ 2 ฉบับ เป็นผู้บริหาร 1 ฉบับ ครู 1 ฉบับ รวมจำนวน 410 ฉบับ โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งกลับคืนฉบับสมบูรณ์ 202 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 404 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.53
ผลการวิจัย
1. ระดับสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมาก ระดับสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล ด้านการสื่อสารและการจูงใจตามลำดับ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์
2. ระดับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส
3. สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสมรรถนะของผู้บริหารคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ และด้านการสื่อสารและจูงใจ กับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักความคุ้มค่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมการปกครอง. (2545). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
จีระ งอกศิลป์. (2550). คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่ 3. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2544). คู่มือการพัฒนาระบบ
บริหารงานยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ทับทิม ปันสา. (2553). การบริหารงานตามหลักธรร
มาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
นิภาพร รุ่งโรจน์สาคร. (2546). พฤติกรรมทางคุณธรรม
ตามระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
ของผู้บริหารสถานศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรพิศ อินทะสุระ. (2551). สมรรถนะของผู้บริหาร
สถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น.
การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พรหมเมศว์ คำผาบ. (2549). การใช้หลักธรรมาภิบาล
ในการ บริหารงานของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พระมหาลำพึง ธีรปญฺโญ. (2554). การบริหารงานตาม
หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ
มัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญาพุทธศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคล
ภาครัฐไทย : กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย.
กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะ
รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมโภขน์ อนันตโรจน์. (2546). พฤติกรรมความเป็น
ผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่สัมพันธ์การ
พัฒนางานวิชาการด้านการวัดและการ
ประเมินผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา อำเภอปราณบุรี จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
(2545). รายงานการปฏิบัติการพัฒนาระบบ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การประชุมประจำปีของ สศช. เรื่อง เส้นทางประเทศไทยสู่ ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ กันยายน 16, 2556, จากwww.nesdb.go.th/Portals/0/news/annual_meet/56/m/book02.pdf.
อรทัย แสงทอง. (2552). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาสถานศึกษาในเขตตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Mintzberg H. (1998). Strategy Safari: A Guided Tour Through the Wilds of Strategic Management. New York: Prentice - Hall.
Translated in Thai References
Anantarote, S. (2003). Leadership Academic Director of Academic Relations Developed the Measurement and Evaluation of the School Under the Office of Primary Education Pranburi, Prachuapkhiri Khan Province, .Master Thesis of Department of Education Suan Dusit Rajabhat University.
Department of Local Administration. (2545). Guide to Child Development Center of Local Administration, Volume 1. Bangkok: Military Publishing Service
Inthasura, P. (2008). The Performance of School Administrators. According to the Opinion of Teachers and Educational Personnel in Schools under the Jurisdiction of Khon Kaen.Independent Study Department of Education Loei Rajabhat University.
Kampab, P. (2007). The Primary Use of Good Governance Administration of Education Under the Jurisdiction of the Province Area 1. Master Thesis of Loei Rajabhat University.
Maharumphungyo (Ven). (2011). The Administration Applying Good Governance of the School Nwmintrachotis, Nakornsawan. Master Thesis in Buddhism in Public Administration, Mahachulalongkorn University.
Ngoksilp, J. (2007). Books for School Administrators Under the Office of Basic Education Series 3: The Odeon Store.
Office of National Elementary Education Board. (2002). The operating system of quality assurance in education . Bangkok.
Office of the National Economic and Social Development Board (2013). The annual meeting of the NESDB. The route to Thailand. Asean Community. Searched on September 16, 2013, from www.nesdb.go.th/Portals/0/news/annual_meet/56/m/book02.pdf. Pansa, T. (2010). The Administration Applying Good Governance of School Administrators Under the Primary Education Service Area Office, Area 1 Kamphaengphet Province, .Master Thesis of Graduate School, Pitsanulok University.
Rungrojsakhon, N. (2003). Moral Behavior and Social Systems Based on Good Governance of School Administrators, Samutsakorn Province, .Master Thesis in Education, Sukhothai Thammathirat University
Saengthong, O. (2009). The Main Good Governance and Administration in Schools under the Bangkok Case Study in the Talingchan. Master Thesis, Department of Public Administration Graduate School Mahachulalongkorn University.
Santhong, N. (2001). Guide the Development of the New Administration. Bangkok: H.R. Center.
Yawaprapas, S. (2005). The Thailand Government Administration: New Trends and Challenges. Bangkok: Department of Public Administration, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

บุญมาก น., & เกิดวิชัย ฤ. (2019). สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 175. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214483