การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สัมมา รธนิธย์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214486

คำสำคัญ:

การบริหารการเปลี่ยนแปลง; ประชาคมอาเซียน; สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบผสมผสาน (Mix Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) เปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนจำแนกตามสังกัดและ(3) เพื่อเสนอแนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามที่มี ค่าความเที่ยงตรงรายข้อระหว่าง 0.8 – 1.0 ความเชื่อมั่น 0.97 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และกรุงเทพมหานครในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนทั้งสิ้น 211 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.91 และใช้ แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเที่ยงตรงรายข้อระหว่าง 0.8 – 1.0 สัมภาษณ์ผู้บริหาร 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติที่เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายขั้นตอนทุกขั้นตอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนจำแนกตามสังกัดของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยรวมและในแต่ละขั้นตอน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน พบว่าสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเรื่องการสร้างความเข้าใจถึงผลเสียหายของบุคคลและโรงเรียนหากไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง ในขั้นตอนการสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง เรื่องการปรับวิธีการให้เหมาะสมโดยร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเรื่องการสร้างกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในขั้นตอนการดำเนินการการเปลี่ยนแปลง และเรื่องการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นไม่แตกต่างกันทุกเรื่องในขั้นตอนอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. ระดับข้อเสนอแนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ควรกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินการอย่างเด่นชัดและยึดถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกหน่วยงานทางการศึกษา ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นหลักสูตรอาเซียนอย่างเด่นชัด ควรมีการจัดกิจกรรมที่ปลูกฝังให้เกิดเป็นวิถีชีวิต ค่านิยมใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในสังคมอาเซียน และควรมีการกำหนดระบบติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานสู่สาธารณชน สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

References

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2551). ผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนองค์ความรู้ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ. ปริญญา ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรวดี รัตนวงศ์. (2550). ผลกระทบของประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมที่มีต่อความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัศมี เจริญรัตน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนนำร่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วิกีพีเดีย. (2556). สถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. สืบค้นใน th.wikipedia.org/wiki/ข้อมูล ณ.วันที่ 3 ตุลาคม 2556.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ทฤษฎีองค์การ . กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเทกซ์ .
วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการขับเคลื่อนการจัดการความรู้สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมมา รธนิธย์. (2553). เอกสารคำสอนหลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ:ข้าวฟ่าง.
Best, J. (1986). Reseach in Education. New Jersey: London Higher Education.
Cox, P.L., & deFrees, J. (1991). Work in progress: Restructuring in ten Maine schools. Andover, MA: The Regional Laboratory for Educational Improvement of the Northeast and Islands.
Krejcie R.V. & Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.
Translated in Thai References
Jareanrut, R. (2008). Relationship Between Chang Management and Academic Administration’s Effectiveness in Transformational Leadership’s Pilot Schools under the Office of Nakornpanom Education Service Area. Master Degree Thesis in Educational Administration, Sakon Nakhon Rajabhat University.
Jaru-ityarnon, W. (2010). Development of Chang Management’s Model for Rajabhat University’s Knowledge Management Movement. Ph.d. Dissertation in Educational Administration. Chulalongkorn University.
Kunkaew, J. (2008). The Impact of Chang Management Strategies and Knowledge Retention Affecting Thailand’s Electricity and Electronic Industry. Master Degree Thesis in Business Management, Mahasarakham University
Nantanawk. (2011). ASEAN Community 2015. Available in nantanawk.wordpress.com
Office of The Public Sector Development Commission (2008). The Modern Management’s Technique and Method toward Good Governance’s Guideline. Available in http:// www.cad.go.th. March 22nd, 2013.
Office of The Public Sector Development Commission. (2007). Chang Management Handbook for Best Practice’s Promotion in Government Sector’s Operation. Bangkok: Office of The Public Sector Development Commission.
Rathanit, S. (2010). Principle Theory and Practice in Educational Administration. Bangkok: Kaewfang.
Rutanaworng, P. (2007). The Impact of Teamwork Efficiency Affecting Chang Management’s Success of Commercial Bank in Thailand. Master Degree Thesis in Management. Mahasarakham University.
Punnaros Malakul Ayuttaya. (2010). Chang Management. Department of Public Administration , Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.
Sukhothai Thammathirat Open University. (2010). Change Management. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press.
Supasoporn, C. (2010). The Development of Chang Management’s Model to be Government Basic Education Schools’ Best Practice. Ph.d. Dissertation in Educational Administration. Chulalongkorn University.
Wittaya-udom, W. (2007). Organizational Theory. Bangkok: Therafilm and Sitex.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

รธนิธย์ ส. (2019). การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(3), 188. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i3.214486