การออกแบบสื่อการสอนในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ประเภทของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์
  • นิติ นิมะลา
  • อภิรักษ์ อุ่นไธสง

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214508

คำสำคัญ:

สื่อการสอน, ประชาคมอาเซียน, ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์งานวิจัย 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาประชาคมอาเซียนที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้ผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และ 3) เพื่อประเมินต้นแบบผลิตภัณฑ์ของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับ
เด็กปฐมวัย ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างครูอนุบาลภาครัฐและภาคเอกชนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในจังหวัด
อุดรธานี 398 คน ใช้แบบสอบถามความต้องการรูปแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 5 ท่าน แบบประเมินความเหมาะสมในการ
ออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น จากนั้นสร้างต้นแบบแล้วประเมินผลโดยและครูอนุบาล กรณีศึกษาโรงเรียนภาครัฐบาล และโรงเรียนภาคเอกชนในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

         ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบของเล่นต้องค านึงถึงด้านความปลอดภัยเป็นหลัก การเรียนรู้เรื่องอาเซียนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากที่สุดคือ สัตว์ประจำชาติ วัสดุที่เลือกใช้เป็นไม้ยางพารา การผลิตทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และวัสดุเป็นวัสดุธรรมชาติส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสสัมผัสผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ การเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม 2 คนขึ้นไป รูปแบบของเล่นส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และฝึกการสังเกตเปรียบเทียบ

       ผลการประเมินต้นแบบสรุปได้ดังนี้รูปแบบและความคงทนมีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม ด้านการเรียนรู้ และด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีความเหมาะสมที่ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนด้านความปลอดภัยมีความเหมาะสมที่ระดับความคิดเห็นมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความคิดเห็นคุณลักษณะของเล่นส าหรับเด็กอนุบาลจากครู
ระดับอนุบาลระหว่างภารรัฐและภาคเอกชนด้านการเรียนรู้ ครูอนุบาลที่สังกัดโรงเรียนภาครัฐ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นเด็กอนุบาลด้านการเรียนรู้ที่สูงกว่าครูอนุบาลภาคเอกชน

References

Isenberg, J.P. & Jalongo, M.R. (1993).
Creative expression and play in
the early childhood curriculum.
New York: Macmillan Publishing
Company.
Sathapnukun, D. (2002). Factor related
Selecting Childhood Toy of
Kindergarden's Parent in Bankok.
Master thesis, M.Ed. (Early
Childhood Education)
Bankok.Srinakharinwirot University.
Kosem, T. (1998). Results of Increasing
Economic Moral of PreElementary School Event. No
place of publication.
Siriwanbut, P. (2006). Theory of
Psychology (3
thed). Bangkok:
Chulalongkorn University Press.
Phurahong, S and Faculty. (2556). ASEAN
Primary 1 (3
thed). Bangkok Aksorn
CharoenTat ACT. Co.,Ltd.
Chanem,S (2536). Developmental
Psychology (3
thed). Bangkok: Thai
Watana Panich. Co.,Ltd.
Thongmi,O. (2544). Factors Related to
Parents' Toy Selection Criteria for
Preschool Children in Bangkok
Metropolis. M.A. (Home Economics
Education). Bangkok: Kasetsart
University.
Isenberg, J.P. & Jalongo , M.R. (1993).
Creative expression and play in
the early childhood curriculum.
New York: Macmillan Publishing
Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

เรืองวรรณศักดิ์ ก., นิมะลา น., & อุ่นไธสง อ. (2019). การออกแบบสื่อการสอนในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ประเภทของเล่นเสริมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214508