ลวดลายผ้าปักอาข่า : กรณีศึกษาบ้านอาข่าห้วยโป่ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จินตนา อินภักดี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214513

คำสำคัญ:

ลวดลายผ้าปัก; ชาวเขาเผ่าอาข่า; กลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลวดลายผ้าปักอาข่าในพื้นที่บ้านอาข่าห้วยโป่ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) รวบรวมลายผ้าปักอาข่าให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการนำลวดลายไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) สัมภาษณ์เฉพาะผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลวดลายผ้าปัก อาข่าจำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ชาวบ้าน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเลือกแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลวดลายผ้าปักอาข่าได้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ในการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล ตัวอย่างภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล กระบวนการสังเกตการณ์ประกอบการซักถาม และการบันทึกภาพนิ่ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชาวอาข่า ได้รับการสืบทอดวิธีการปักผ้ามาจากบรรพบุรุษ โดยปักผ้าเพื่อสวมใส่เอง เนื่องจากปักผ้าเป็นงานฝีมือต้องใช้เวลาในการปักนาน จึงไม่นิยมปักเพื่อจำหน่าย โดยจินตนาการลายปักมาจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เช่น ผีเสื้อ นก ภูเขา ดอกไม้ และต้นไม้ เป็นต้น ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าปักอาข่า ได้แก่ ลายผีเสื้อ (ลายอาลูเหม่ล้า) ซึ่งใช้เทคนิคการปักและการสอย ส่วนลายปักอื่น ๆ ที่ใช้เทคนิคการปักลักษณะไขว้เป็นรูปกากบาท วัสดุที่ใช้ในการปักได้แก่ ไหมพรมเส้นเล็ก ด้ายโทเร และผ้าสีสำหรับแต่งลาย นิยมใช้สีแดงในการปัก สำหรับการจัดหมวดหมู่ลวดลายปักแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ลายพื้นฐาน ลายดั้งเดิม และลายประยุกต์

References

กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2543). ผ้าชาวเขา. กรุงเทพฯ : บริษัท รำไทยเพรส จำกัด
กองบรรณาธิการและสำนักมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2555). 9 สิ่งควรรู้กับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. วารสารวัฒนธรรม ฉบับที่ 51, 3 (ต.ค. – ธ.ค. 55).
ชีสแมน แน่นหนา. (2533). ผ้าปักชาวเขาเผ่าอาข่า. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมด เชียงใหม่.
เบญจวรรณ วงศ์คำ (2546). อาข่า พิธีกรรม ความเชื่อ ความจริง และความงาม “อาข่า ” กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรา ตันติประภา และคณะ. (2550). การศึกษาความ เป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวง :กรณี ศึกษาหัตถกรรมผ้ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
มาลิสา มอโป๊ะกู่. (2558). ผ้าปักอาข่า. การ สัมภาษณ์. 4 มีนาคม 2558
มูลนิธิกระจกเงา. (2557). ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าอาข่า. สืบค้นวันที่ 27 กันยายน, 2557, http://akha.hilltribe.org/thai/
วิมลสิริ เบี่ยงกา. (2556) การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อรูปแบบเสื้อผ้าชุดลำลองสตรีที่ตัดเย็บ โดยใช้ผ้าปักชาวเขาเผ่าอาข่า.
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ผ้าและเครื่องแต่งกาย)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม : แนวทางศึกษา วิเคราะห์และวางแผน. ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
หล่อโซ้ว อาช้อง. (2558). ลวดลายผ้าปักอาข่า.
การสัมภาษณ์. 8 เมษายน 2558”
อุทัย ปัญญาโกญ. (2547). การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า. สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

อินภักดี จ. (2019). ลวดลายผ้าปักอาข่า : กรณีศึกษาบ้านอาข่าห้วยโป่ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 6. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214513